วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

Log Frame

การจัดทำโครงการโดยใช้ตารางเหตุผลสัมพันธ์ (Logical Framework)
               Logical Framework หรือ Log Frame หรือตารางเหตุผลสัมพันธ์ หมายถึง การเขียนโครงการอย่างเป็นระบบ โดยมองความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ ของโครงการและสัมพันธ์กับแผนงานด้วยหลักเหตุผล พร้อมทั้งวิเคราะห์โครงการ โดยใช้หลัก ค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบกับประสิทธิผลที่จะได้รับจากโครงการหรืออาจจะสรุปเป็นหลักการง่าย ๆ คือ หลักการแสดงความสัมพันธ์ในเชิงเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันและประสานกัน ทั้งในแนวตั้ง (Vertical Logic)  และแนวนอน (Horizontal Logic) ขององค์ประกอบที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของโครงการ โดยแสดงรายละเอียด  ในรูปตาราง 4 X 4 matrix ซึ่งมีตารางรวมทั้งสิ้น 16 ช่อง เพื่อให้ทราบว่าโครงการนี้มีวัตถุประสงค์อย่างไร (what) จะดำเนินการอย่างไร (how) ปัจจัยสำคัญอะไรบ้างที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการ และยังระบุไว้ด้วยว่า จะสามารถวัดผลงานและความสำเร็จของโครงการได้อย่างไร จะได้ข้อมูลมาจากแหล่งใดและโดยวิธีการใด
กรอบขั้นตอนสำคัญในการพัฒนากรอบเข้าสู่ระบบได้รับการปรับแต่งและรัฐอย่างชัดเจน
§  จุดมุ่งหมายโดยรวม
§  จุดประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง
§  แสดงผลและผลที่คาดว่าจะ








ให้แน่ใจว่าได้ตรวจสอบว่าทั้งหมดขององค์ประกอบเหล่านี้ "พอดี" ด้วยกันและจะช่วยให้การส่งมอบผลลัพธ์ที่ต้องการ. ทำไมเป็น Log Frame ?
§  โปรแกรมแผนที่จากวัตถุประสงค์เพื่อผลลัพธ์: อย่างเป็นระบบของการทำแผนที่ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่นำเสนอและผลที่คาดหวังและผลของกิจกรรมเหล่านี้
§  ระบุจุดอ่อนที่อาจเกิดขึ้นในการวางแผน:มันออกวางองค์ประกอบของการออกแบบโครงการที่ดีและช่วยระบุจุดอ่อนในขั้นตอนการวางแผนก่อนที่จะวางแผนในรายละเอียดและการดำเนินการ
§  สร้างกรอบการทำงาน:มันทำหน้าที่เป็นกรอบสำหรับการติดตามและประเมินผล
§  สำหรับเงินอุดหนุนและเงินทุน:ข้อเสนอส่วนใหญ่ทุนและการใช้เงินทุนที่จำเป็นต้องเข้าสู่ระบบกรอบจะรวมอยู่ในใบสมัครทุน
§  จัดการเวลาและทรัพยากร:มันทำหน้าที่เป็นรากฐานในการจัดการเวลาและทรัพยากรในโครงการ

สรุป
ตัวชี้วัด
แหล่งข้อมูล/การตรวจสอบ
เงื่อนไข/ข้อกำหนด
เป้าหมาย (Goal)




วัตถุประสงค์  (Purpose)




ผลผลิต/ผลงาน  (Outputs)




กิจกรรม (Inputs)
องค์ประกอบแนวนอน แสดงรายละเอียดขององค์ประกอบแนวตั้งในแต่ละระดับ ประกอบด้วย 
1) คำสรุป เป็นคำอธิบายสั้น ๆ ขององค์ประกอบแนว ตั้งระดับต่าง ๆ ในช่องจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ ผลงาน และปัจจัยหรือกิจกรรมและทรัพยากร เวลาเขียนลงตารางนิยมเขียนให้สั้นที่สุด 
2) ตัวบ่งชี้ เป็นดัชนีพิสูจน์ความสำเร็จ ในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นข้อความสั้น ๆ ที่จะช่วยให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นประสบความสำเร็จดังข้อกำหนดที่ระบุไว้ในคำสรุปแล้ว ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของคำสรุปแต่ละตัวอาจมีได้หลายอย่างหรือหลายตัว
3) แหล่งข้อมูล และการตรวจสอบ รายละเอียด ของช่องนี้จะเกี่ยวข้องกับวิธีการวัดเป็นสิ่งที่จะบอกว่าตัวบ่งชี้ความสำเร็จนั้นได้มาอย่างไร จากไหน เช่น จากการสำรวจหรือจากแหล่งสถิติหรือแหล่งข้อมูลใดบ้าง
4) เงื่อนไขของความสำเร็จ หรือ ข้อกำหนดเบื้องต้น เป็นการกล่าวถึงสิ่งที่คาดหมาย เพื่อสนับสนุนว่าความสำเร็จที่ระบุไว้ในคำสรุปนั้นจะเกิดขึ้นตามต้องการ ถ้ามีสภาพแวดล้อมหรือมีลักษณะเป็นไปตามเงื่อนไขที่กล่าวไว้ ตัวเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นจะต้องมีความเป็นไปได้และสมเหตุสมผล สอดคล้องกับแหล่งข้อมูลและ/หรือวิธีพิสูจน์ ตัวบ่งชี้ความสำเร็จและคำสรุป ในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผลกัน ดังนั้น เมื่อต้องการพิสูจน์ความสำเร็จของโครงการในขั้นต้นจะสามารถตรวจสอบจากเงื่อนไขได้ก่อนว่าสมเหตุผลหรือมีทางเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด การกำหนดเงื่อนไขจึงเป็นสิ่งที่กระทำได้ไม่ง่ายนัก เงื่อนไขแต่ละกรณีอาจมีได้มากกกว่าหนึ่งถ้ามีความจำเป็นหรือมีเหตุผลเหมาะสม รูปแบบของ Log Frame พร้อมลักษณะเฉพาะหรือคำอธิบายของตารางแต่ละช่องจะเป็นดังนี้จุดแข็ง จุดอ่อน Log Frame
จุดแข็ง
1.เป็นการเขียนโครงการตามหลักตรรกวิธีซึ่งจะทำให้โครงการมีความสมเหตุสมผลน่าเชื่อถือและบรรจุเนื้อหาสาระอย่างเป็นหมวดหมู่และมีความชัดเจนไว้ในที่เดียวกันช่วยทำให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจโครงการได้อย่างรวดเร็ว 
2. เป็นเครื่องมือที่บังคับให้ผู้จัดทำแผน/โครงการ คิดวางแผนโครงการให้ละเอียดถี่ถ้วน 
3. อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้วิเคราะห์โครงการหรือผู้พิจารณาโครงการ เพราะสิ่งที่ต้องพิจารณาปรากฏอยู่ใน Log Frame หมดแล้ว 
4. สำหรับผู้บริหารโครงการ Log Frame จะช่วยให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจสรุปโครงการ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินโครงการได้เป็นอย่างดี 
5. ผู้ประเมินโครงการสามารถพิจารณาการประเมินผลจาก Log Frame ได้โดยดูจากตัวบ่งชี้ แหล่งข้อมูลหรือวิธีการพิสูจน์และเงื่อนไข 
6. ในกรณีที่มีปัญหาอุปสรรคทำให้โครงการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ก็อาจจะใช้ Log Frame เป็นแนวทางที่จะตัดสินใจว่าสมควรจะปรับปรุงโครงการนั้น หรือจะจัดทำโครงการขึ้นมาใหม่เพื่อเสริมโครงการเดิมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 
จุดอ่อน
1. การจัดทำโครงการแบบ Log Frame จะต้องจัดเตรียมข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วนชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องยากในการปฏิบัติ 
2. การเขียนรายละเอียดโครงการลงในแต่ละช่องของ Log Frame จะต้องระมัดระวังให้มีความรัดกุมชัดเจน                    และสอดคล้องเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จึงใช้เวลาในการเขียนมาก ทำให้ไม่ได้รับความนิยมจากผู้จัดทำโครงการที่จะนำเอา Log Frame มาใช้ในการจัดทำโครงการเท่าที่ควร 
3. การจัดทำโครงการระบบ Log Frame มีประโยชน์มากในการเขียนโครงการที่มีวัตถุประสงค์ประการเดียว ถ้าจะนำวิธีการนี้มาเขียนโครงการที่มีวัตถุประสงค์หลายอย่าง (Multiple Objective) มักจะใช้เขียนไม่ได้ ดังนั้นผู้จัดทำโครงการจึงต้องแยกเขียนเป็นโครงการย่อย ๆ หลายโครงการ เพื่อทำให้โครงการที่เขียน                  แต่ละโครงการมีวัตถุประสงค์เพียงประการเดียว 
บทสรุป 
Log Frame หมายถึง การจัดทำโครงการที่มีการพิจารณาโครงการอย่างเป็นระบบ ใช้หลักการความสัมพันธ์ เน้นหลักการวิเคราะห์แบบ เปรียบเทียบกับประสิทธิผล และผลสัมฤทธิ์ และใช้หลักเหตุและผล แสดงให้เห็นความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่สำคัญของโครงการ โดยมีการสรุปสาระสำคัญของโครงการไว้ในตาราง 16 ช่อง แต่ Log Frame ก็มีความยุ่งยากในตัวเอง การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเตรียมข้อมูลรายละเอียดและการเขียนสรุปสาระลงตารางที่สอดคล้องเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ซึ่งต้องใช้เวลามากในการเขียนโครงการ แต่ในปัจจุบันมีการแข่งขันสูงต้องมีการปรับตัวเข้าสู่การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ที่จะต้องระบุผลผลิต ผลลัพธ์ที่ชัดเจนและสามารถวัดผลสำเร็จของแผนงานโครงการต่าง ๆ การเขียนโครงการแบบ Log frame จะช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของการทำงานต่าง ๆ สามารถดำเนินการตามขั้นตอนและติดตามประเมินผลได้ Log Frame จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์นั่นเอง อย่างไรก็ตามแต่ละหน่วยงานยังมีรูปแบบการเสนอโครงการที่เป็นแบบดั้งเดิม ผู้เขียนขอเสนอให้คิดและร่างกรอบโครงการลงในตารางเหตุผลสัมพันธ์ แล้วจึงค่อยนำมาบรรยายตามประเด็นหัวข้อที่กำหนด โดยให้มีสาระสำคัญตาม Log frame หรือกรณีมีโครงการอยู่แล้ว และต้องการทดสอบความสัมพันธ์ความเป็นเหตุและผลของโครงการ อาจใช้วิธีกลับกัน โดยให้สรุปสาระสำคัญของโครงการลงในตาราง Log frame
แหล่งข้อมูล
http://www.world-heart-federation.org/what-we-do/awareness/kids-on-the-move-toolkit/1-planning/writing-the-plan/log-frame/

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูล สั้นกระชับ เข้าใจง่าย ค่อ

    ตอบลบ