วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

การคิดเชิงระบบ Systems Thinking



การคิดเชิงระบบ Systems Thinking
หมายถึง การคิดในลักษณะเชื่อมโยง คิดมองแบบภาพรวมให้เห็นภาพทั้งหมด รู้จักสังเคราะห์และมองเห็นปฏิสัมพันธ์ต่างๆของระบบ ทั้งในสัมพันธ์เชิงลึกและสัมพันธ์แนวกว้าง รวมทั้งความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนอันเป็นการคิดแบบกระบวนการ หรือที่เราเรียกกันว่า วิธีคิดแบบองค์รวม
หมายถึง การคิดที่มีความเข้าใจ เชื่อมโยง มีความเชื่อในทฤษฎีระบบเป็นพื้นฐานในสมอง คนปกติมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในสรรพสิ่งที่อยู่ในในโลกที่สอดคล้องกับทฤษฎีระบบอยู่แล้ว  เพียงแต่ความสามารถในการทำได้ดีในระดับความเข็มข้นของระบบแตกต่างกัน 


Barry Richmond, 1987 ได้แสดงทัศนะว่า
             Systems Thinking is the art and science of making reliable inferences about behavior by developing an increasingly deep understanding of underlying structure.
               คือ ระบบคิดเป็นศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการทำข้อสรุปที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับพฤติกรรมโดยการพัฒนาความรู้ความเข้าใจมากขึ้นของโครงสร้างพื้นฐานทฤษฎีระบบ



         








              
              ระบบ คือการรวบรวมส่วนประกอบต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันภายในและมีปฏิสัมพันธ์กันโดยส่วนประกอบทั้งหลายนั้นจะร่วมกันทำงานอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้การดำเนินงานนั้นบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
วิธีระบบหรือวิถีระบบ (systems Approach) หมายถึงกระบวนการที่ทำให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อผลลัพธ์ที่กำหนดซึ่งอยู่บนพื้นฐานหลักการความต้องการเป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ปัญหาเชิงตรรถวิทยา
ทฤษฎีระบบพื้นฐาน (Basic  Systems  Theory) ขององค์การซึ่งมี 5 ส่วน  คือ  ปัจจัยป้อน  กระบวนการแปรรูป  ผลผลิต  ข้อมูลย้อนกลับ และสภาพแวดล้อม 
1.  ปัจจัยป้อน (Inputs)  คือทรัพยากรที่เป็นบุคคล  วัสดุอุปกรณ์  เงิน  หรือข้อมูลที่ใช้ในการผลิตหรือการบริการ
2.  กระบวนการแปรรูป (Transformation Process) จาการใช้เทคโนโลยีและหน้าที่ในทางการบริหารตัวป้อนนำไปสู่กระบวนการแปรรูป ในโรงเรียนปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูเป็นส่วนหนึ่งของการแปรรูปหรือกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งทำให้นักเรียนกลายเป็นพลเมืองที่มีการศึกษา ซึ่งสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมต่อไป
3.  ผลผลิต (Output) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์และการบริการขององค์การ องค์การทางการศึกษาผลิตและแจกจ่ายความรู้
4. ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) คือ สารสนเทศเกี่ยวกับผลผลิตหรือกระบวนการขององค์การ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการคัดเลือกตัวป้อนระหว่างวงจรต่อไป ข้อสารสนเทศเช่นนี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในกระบวนการแปรรูปและผลผลิตในอนาคต
5. สภาพแวดล้อม (Environment) สภาพแวดล้อมที่อยู่ล้อมรอบองค์การ ได้แก่ แรงผลักดัน (Forces) ทั้งด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ที่มาปะทะกับองค์การ
ดังนั้นการสร้างกรอบแนวคิดให้องค์การเป็นระบบเปิด (Open System) จึงเป็นแนวคิดรวบยอดที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของทฤษฏีระบบองค์การที่เป็นโรงเรียนหรือสถานศึกษาทั้งหมดเป็นระบบเปิด











ขั้นตอนของวิธีการเชิงระบบ
1.   ทำความเข้าใจปัญหาระบุปัญหา/โอกาสของระบบ
2.   รวบรวมข้อมูลเพื่ออธิบายปัญหาและโอกาส
3.   ระบุทางแก้/ทางเลือกในการแก้ปัญหา
4.   ประเมินในแต่ละทางเลือก
5.   เลือกทางแก้ที่ดีที่สุด
6 .ปฏิบัติการตามทางแก้ที่เลือกไว้
 7.   ประเมินความสำเร็จของการปฏิบัติตามทางเลือก

แหล่งข้อมูล 
http://www.thwink.org/sustain/glossary/SystemsThinking.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น