วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

การบริหารจัดการในห้องเรียน 
(Classroom Management)
           หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน การจัดการกับพฤติกรรมของนักเรียน การสร้างวินัยในชั้นเรียนตลอดจนร่วมกันสร้างกฎระเบียบระหว่างครูกับนักเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู และการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ทั้งหมดนี้เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



          








          บรรยากาศในห้องเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิด ความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้าง บรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนัก เรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่า ครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบรูณ์ ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้นการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้
           1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจร เกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
           2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นัก เรียนจะซึมซับสิ่ง เหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
           3. ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ
           4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการการจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
           5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ
           6. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้า ใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน          
           กล่าวโดยสรุปได้ว่า ครูคือผู้มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการห้องเรียน ครูต้องเห็นความสำคัญของการจัดการชั้นเรียนแล้วเห็นประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับคือ จะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด
เป้าหมายของการบริหารจัดการห้องเรียน 
           เพื่อการพัฒนานักเรียนในการควบคุมตนเอง เพื่อให้มีชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข ครูซึ่งเป็นผู้นำในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนนั้น จำเป็นต้องมีเป้าหมายของการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ถูกต้อง กล่าวคือ เพื่อมุ่งสร้างนิสัยของการใฝ่รู้ มิใช่เพื่อมุ่งให้นักเรียนเกิดความสุขสนุกในการเรียนเพียงอย่างเดียว ควรมุ่งสร้างคุณลักษณะของการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น การพึ่งตนเองให้มากกว่าพึ่งผู้อื่น และการเป็นคนมีความคิดใฝ่สร้างสรรค์ เพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไปในอนาคต ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญ ดังนี้
           1. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่จะควบคุมตังเองได้มากขึ้น เช่น เวลาต้องการสิ่งใดจะอดทนรอได้แสดง กิริยาตอบโต้ด้วยอารมณ์ที่สมเหตุสมผล ลดปฏิกิริยาตอบโต้ที่รุนแรง ลดการกระทำตามใจตนเอง
           2. เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ที่จะเข้าใจและยอมรับผลการกระทำของตัวเอง เด็กต้องเรียนรู้ว่าตัวเองกระทำเช่นนั้น จะเกิดผลตามมาอย่างไร เช่น การลุกจากที่บ่อยๆ จะไม่มีงานของตนเองส่งครู หรือการพูดจาไม่สุภาพ เพื่อนจะไม่พูดด้วย
           3. เพื่อให้นักเรียนรับผิดชอบตัวเอง และพึ่งพาคนอื่นตามจำเป็นอย่างเหมาะสม เด็กที่มีความต้องการพิเศษอาจมีสิ่งที่ต้องพึ่งพิงหรือขอให้คนอื่นช่วยในหลายกรณี เช่น เด็กหูตึง อาจจะให้เพื่อนที่อยู่ใกล้บอกสิ่งที่ครูพูดให้ฟัง เป็นต้น
           4. เพื่อเป็นการสนับสนุนและกระตุ้นให้นักเรียนสนใจการเรียน เพราะบรรยากาศในชั้นเรียนมีลักษณะของการมอบหมายงานที่ไม่ทำให้นักเรียนเคร่งเครียดเกินไป มีความเป็นระเบียบของห้องเรียน
           นอกจากนี้ การจัดการห้องเรียน ยังช่วยสนับสนุนให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย 

การจัดห้องเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้
        การจัดบรรยากาศในห้องเรียน คือ  การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการจัดให้กระบวนการเรียนรู้  และกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่นักเรียน รวมทั้งช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมนักเรียนทั้งในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม ได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด
การสร้างบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้นับว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ ถือเป็นการจัดสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนและการเรียนการสอนให้ดำเนินไปตามรูปแบบที่ครูกำหนดไว้  เนื่องจากจะช่วยให้นักเรียนพร้อมที่จะเรียน มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน ไม่เบื่อหน่ายในการเรียน และทำให้กระบวนการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้ง่ายขึ้น ทั้งยังส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียน ในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา  การจัดบรรยากาศการเรียนรู้จึงเป็นเรื่องสำเป็นสำหรับครูผู้สอนเป็นอย่างยิ่ง
ความหมายของการจัดห้องเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้
การจัดห้องเรียน  หมายถึง  ระบบระเบียบและกลยุทธ์เพื่อใช้ในการปฏิบัติ  การแก้ปัญหาและการนำกิจการของห้องเรียนให้เกิดการเรียนรู้ให้บรรลุตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา
บรรยากาศ  หมายถึง ความรู้สึก สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว เช่น บรรยากาศในที่ประชุม บรรยากาศรอบๆ บ้าน
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแสดงพฤติกรรม ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง  ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิบัติหรือจากการได้รับประสบการณ์

การจัดบรรยากาศการเรียนรู้  หมายถึง การจัดสภาวะแวดล้อมในการเรียนการสอนโดยเน้นความรู้สึกและความต้องการของผู้เรียน  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่พึงประสงค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น