หมายถึง รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่มีชื่อเต็มว่าStudent
Teams Achievement Divisions เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ซึ่งกำหนดให้นักเรียนที่มีทักษะและความรู้ที่แตกต่างกันมารวมกันเป็นกลุ่ม
หรือเป็นทีม เพื่อทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มๆ โดยในกลุ่มจะคละไปด้วยคนเก่งและไม่เก่ง
เพื่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อสร้างแรงจูงใจผู้เรียนให้เกิดแรงบันดาลใจ
สามารถแสดงออกถึงทักษะการทำงานเป็นทีม
และช่วยเหลือกันในการทำ
มีความเข้าใจเนื้อหานั้นๆ
อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นเทคนิคที่สามารถใช้ได้กับทุกกระบวนการการเรียนรู้
หรือวิชาคณิตศาสตร์ ศิลปะ
ภาษา และสังคมศึกษา และใช้ได้กับระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย
รูปแบบการจัดการ
1.ครูอธิบายงานที่ต้องทำในกลุ่ม
ลักษณะการเรียนภายในกลุ่ม กฎกติกา ข้อตกลงในการทำงานกลุ่ม
2.ครูเป็นผู้กำหนดกลุ่ม
โดยผู้เรียนจะได้รับมอบหมายให้อยู่ ให้มีความหลากหลายในกลุ่ม ทั้งเพศ
และทักษความสามารถ สมาชิกประมาณจำนวน 4 – 5 คน
3.ครูทำการสอนได้ครบเนื้อหาแล้ว
มีการมอบหมายใบงาน/แบบฝึกหัดให้
ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยกันในกลุ่มของตนเอง
4.ประเมินในสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนไป
โดยทดสอบคะแนนเป็นรายบุคคล
ครูใน
STAD
1.จัดผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยกลุมละ 4-5
คน โดยให้สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกัน
2.ให้ผู้เรียนจัดที่นั่งเป็นกลุ่มโดยมีช่องว่างระหว่างกลุ่มที่ผู้สอนสามารถเดินดูการทางานของกลุ่ม
ได้
3.ชี้แจงบทบาทของผู้เรียน
เกี่ยวกับวิธีการเรียนรูแบบร่วมมือเทคนิค STAD และกิจกรรมภายในกลุ่ม
4.สร้างบรรยากาศที่เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ยกย่องชมเชยอย่างเหมาะสม
5.เป็นที่ปรึกษาของทุกกลุ่มย่อย
ติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของกลุ่มและสมาชิกในกลุ่ม
6.เป็นผู้กำหนดว่า
ผู้เรียนควรอยู่ในกลุ่มเดิมนานเท่าใด
นักเรียนใน STAD
1.สมาชิกในกลุ่มต้องมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
2.ทุกคนต้องพัฒนาทักษะการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ
3.สมาชิกแต่ละคนจะต้องได้รับมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
4.ทุกคนให้เคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มมีการวิจารณ์ความคิดเห็น
ของเพื่อนได้ และยอมรับคำวิจารณ์ซึ่งกันและกัน โดยสรุปเป็นความคิดส่วนรวม
5.ทุกคนรับผิดชอบการเรียนรู้ด้วยตนเองและสมาชิกในกลุ่ม
จุดเด่น STAD
1.นักเรียนมีความเอาใจใส่รับผิดชอบตนเองและกลุ่มร่วมกับเพื่อนสมาชิก
2.สนับสนุนให้นักเรียนที่มีความสามารถต่างกันได้ร่วมมือกันเรียนรู้
3.สนับสนุนให้นักเรียนเรียนเกิดาภาวะผู้นำกับทุกคน โดยผลัดกันเป็นผู้นำ นักเรียนได้ฝึกและเรียนรู้
ทักษะทางสังคม
4.นักเรียนมีความอยากเรียนรู้และสนุกกับการเรียนรู้
จุดอ่อน STAD
1.ถ้านักเรียนขาดความรับผิดชอบจะส่งผลให้งานกลุ่มและการเรียนรู้ไม่ประสบความสำเร็จ
2.ครูจะต้องเตรียมการและเอาใจใส่เป็นอย่างดีเพื่อได้ประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ ทำให้ครูมีภาระ
งานเพิ่มมากขึ้น และความตั้งใจอย่างสูง
STAD เป็นการสร้างโอกาสให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง แสวงหาค้นคว้าด้วยตนเอง
และจากเพื่อนร่วมงาน หรือสมาชิกในทีม เกิดทักษะการทำงานเป็นทีม การทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยน
ความรู้หรือแม้แต่ปัญหาอย่างอิสระ
คนเก่งสามารถถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนในกลุ่มเข้าใจ
และสามารถ
บอกวิเคราะห์ของการหาคำตอบในการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ได้ และปัญหาทางวิทยาศาสตร์ในการ
ทดลอง การสร้างผลงานในแต่ละวิชาชีพ หรือโครงงานนั้น ซึ่งแต่ละปัญหาหรือการทำงานจะไม่เหมือน
เดิมจะแปลกใหม่
จะต้องมีมานะอดทนของนักเรียนแต่ละคนในการแก้โจทย์คณิตศาสตร์หาคำตอบจาก
ปัญหาเดียวกัน
ทำให้มีการพัฒนาต่อเนื่อง มีประสบการณ์
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไม่ใช่การให้นักเรียนมารวมกลุ่มแล้วทำงานร่วมกัน
แต่เป็นการเกิด
กระบวนการเรียนรู้เพื่อสมาชิกทีมงานทุกคน หรือเพื่อส่วนรวม และพัฒนาไปเพื่อสังคม เพื่อประเทศ
ชาติ โดยการพึ่งพาอาศัยกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันเข้าใจและยอมรับในความคิดเห็นหรือทักษะที่แตก
ต่างของแต่ละคนในทีมงาน
แหล่งข้อมูล
Sandee Toearsa
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น