วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ภาวะผู้นำ Ed.D

ภาวะผู้นำ Leadership
                ภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการนำ  จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ ภาวะผู้นำได้รับความสนใจ และมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่ จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
การศึกษานั้นได้ศึกษาหรือแยกออกเป็นตั้งแต่คุณลักษณะ (Traits) ของผู้นำ อำนาจ (Power) ของผู้นำ พฤติกรรม (Behavior) ของผู้นำแบบต่าง ๆ และอื่น ๆ ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการศึกษาภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา และพยายามจะหาภาวะผู้นำที่มี ประสิทธิภาพในแต่ละองค์การและในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน การทำงานของนักบริหารหรือหัวหน้างาน ก็คือ การทำงานกับคนจะทำงานกับคนและนำคนอย่างไร ทั้งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างานกับลูกน้อง นักบริหารที่ฉลาดจะต้องไม่ยอมให้อาชีพตนเองถอยหลังคนที่ดีที่สุด หรือบกพร่องน้อยที่สุด คือผู้ที่มีความสามารถที่สุดและมีแรงขับภายในหรือศักยภาพ (Potential) ออกมาได้มากที่สุดโดยไม่ยอมอยู่กับที่แต่จะก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจ และมั่นคงเสมอ
ภาวะผู้นาหรือความเป็นผู้นำ (leadership) หมายถึง เป็นกระบวนการที่ผู้บริหารจะให้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของ ผู้อื่น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุจุดหมายขององค์การ จากนิยามดังกล่าว มีคาถามว่าผู้บริหารจะทาให้ตนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนอื่นได้อย่างไร คำตอบก็คือ อำนาจ (power) (Bartol & others 1998) อำนาจนี้มีที่มาจากหลายแหล่งด้วยกัน แต่โดยทั่วไปมีมาจาก 6 แหล่งที่สำคัญดังนี้ คือ (French & Raven 1959 อ้างใน Bartol & others) 1) อำนาจตามกฎหมาย (legitimate power) เป็นอำนาจที่มีตามตำแหน่งที่ดารงอยู่ในสายการบังคับบัญชาขององค์การ ตามอำนาจหน้าที่ (authority) ของตำแหน่งนั้น 2) อำนาจในการให้รางวัล (reward power) เช่น การเลื่อนขั้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง การสนับสนุนการศึกษาหรือฝึกอบรม การยอมรับ เป็นต้น 3) อำนาจในการลงโทษ (coercive power) เมื่อมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การลดขั้นเงินเดือน การโยกย้ายงาน การให้ออกจากงาน เป็นต้น 4) อำนาจในความเป็นผู้เชี่ยวชาญ (expert power) อันเนื่องจากมีประสบการณ์ ความรู้ หรือทักษะเชิงเทคนิคที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทางานของผู้ใต้บังคับบัญชา 5) อำนาจในการมีข้อมูลสารสนเทศ (information power) เนื่องจากได้ครอบครองและควบคุมข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญและจาเป็นต่อการปฏิบัติงานและการวางแผนขององค์การ 6) อำนาจเชิงอ้างอิง (referent power) เป็นผลจากความนิยมชมชอบ ความเคารพนับถือ และความเป็นมิตรจากบุคคลอื่น(วิโรจน์ สาระรัตนะ, 2557)
ความหมายของภาวะผู้นำ ได้มีผู้ให้ความหมายของภาวะผู้นำไว้หลากหลายและแตกต่างกัน ซึ่ง ยุคล์ (Yukl, 1989 ) ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ความหมายของภาวะผู้นำมีหลากหลายและแตกต่างกัน ก็เนื่องจากขอบเขตเนื้อหาและความสนใจในภาวะผู้นำ ในการศึกษาของนักวิจัยแตกต่างกัน ในที่นี้จึงขอนำเสนอให้ศึกษาดังต่อไปนี้
ภาวะผู้นำคือความริเริ่มและธำรงไว้ซึ่งโครงสร้างของความคาดหวังและความสัมพันธ์ระหว่างกันของสมาชิกของกลุ่ม (Stogdill, 1974)
ภาวะผู้นำคือความสามารถที่จะชี้แนะ สั่งการ หรืออำนวยการ หรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้อื่นเพื่อให้มุ่งไปสู่จุดหมายที่กำหนดไว้ (McFarland, 1979)
ภาวะผู้นำคือศิลปในการชี้แนะลูกน้อง หรือผู้ร่วมงานให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกระตือรือร้นและเต็มใจ (Schwartz, 1980)
ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้อิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุความต้องการของกลุ่ม หรือจุดมุ่งหมายขององค์การ (Mitchell and Larson, Jr., 1987)
ภาวะผู้นำเป็นเรื่องของศิลปของการใช้อิทธิพลหรือกระบวนการใช้อิทธิพลต่อบุคคลอื่น เพื่อให้เขามีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานจนประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของกลุ่ม (Koontz and Weihrich, 1988)
ภาวะผู้นำเป็นความสามารถในการใช้อิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้ประสบความสำเร็จตาม เป้าหมายหมายที่ตั้งไว้ (Robbins, 1989)
ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการของการชี้แนะและอิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกของกลุ่ม (Stoner and Freeman, 1989)
 สรุปได้ว่า ภาวะผู้นำ คือ กระบวนการที่บุคคลหนึ่ง(ผู้นำ)ใช้อิทธิพลและอำนาจของตนกระตุ้นชี้นำให้บุคคลอื่น (ผู้ตาม) มีความกระตือรือร้น เต็มใจทำในสิ่งที่เขาต้องการ โดยมีเป้าหมายขององค์การเป็นจุดหมายปลายทาง (พยอม วงศ์สารศรี, 2534:196)
จะเห็นได้ว่าภาวะผู้นำมีหลากหลาย ผู้เขียนจึงได้นำเฉพาะหรือมุ่งเน้นภาวะผู้นำที่เกี่ยวการศึกษา เกี่ยวกับบุคลากรทางการศึกษา การบริหารการศึกษา มารวบรวมและสังเคราะห์องค์ประกอบเพื่อให้ได้ ภาวะผู้นำ Ed.D ซึ่งประกอบไปด้วยภาวะผู้นำ 5 แบบ ดังนี้              
1.        ภาวะผู้นำทางการศึกษา
วิโรจน์ สาระรัตนะ (2557) ได้แสดงทัศนะภาวะผู้นำทางการศึกษา ว่าหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำทางการศึกษา ครูผู้สอนและนักเรียน เพื่อนนำสู่ 1) การสร้างโอกาสเพื่อการสำรวจและแลกเปลี่ยนความรู้ 2) ให้มีอิทธิพลเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงเกี่ยวกับค่านิยมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3) สร้างกลยุทธ์การออกแบบเพื่อสร้างและส่งเสริมวิสัยทัศน์ร่วมกัน
2.        ภาวะผู้นำสถานศึกษา
วิโรจน์ สาระรัตนะ (2557) ได้แสดงทัศนะภาวะผู้นำสถานศึกษา หมายถึง  ผู้นำหน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ ภาวะผู้นำสถานศึกษาประกอบด้วย 1) เข็มแข็งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญ 2) เป็นภาวะผู้นำร่วมกันของบุคลากรทุกฝ่าย 3) ปฏิบัติพื้นฐานของภาวะผู้นำสถานศึกษา 4 ) สร้างบริบทความรับผิดชอบ 5) ให้การศึกษากับนักเรียนหลากหลายกลุ่ม
3.        ภาวะผู้นำบริหารสถานศึกษา
 Meador (2013) กล่าวถึงสิ่งที่จะทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล (effective school leader) นั้น ผู้บริหารจะต้องแสดงออกถึงภาวะผู้นำ (a principal must exhibit Leadership) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จหรือความล้มเหลว สถานศึกษาควรมีผู้นำหรือกลุ่มผู้นำที่มีประสิทธิผล ที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้บริหารคนอื่น ครู บุคลากรสายสนับสนุน นักเรียน และผู้ปกครองเป็นประจำวัน ซึงมีข้อเสนอองค์ประกอบดังนี้ 1) นำให้เห็นเป็นตัวอย่าง 2) มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 3) ให้ความเคารพคนอื่นที่ดี 4) เป็นนักแก้ปัญหา 5) ไม่เห็นแก่ตัว 6) เป็นนักฟังที่ยอดเยี่ยม 7) ปรับตัว 8) เข้าใจในจุดเด่นจุดด้วยเป็นรายบุคคล 9) ทำให้ทุกคนดีขึ้น 10) ยอมรับในข้อผิดพลาด
4.        ภาวะผู้นำของครู  
Whitaker (2012) ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า ครูคือบุคคลที่สำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ครูที่ดีสอน ครูที่ยิ่งใหญ่สร้างแรงบันดาลใจ (good teacher teach, great teachers inspire) และให้ทัศนะต่อความเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ว่ามีลักษณะดังนี้ 1) สอนให้คนอื่นประสบความสำเร็จได้ด้วยตนเอง 2) มีทักษะการสอน 3) รู้ถึงความแตกต่างระหว่างการจัดการกับภาวะผู้นำ
5.        ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน
University of Washington (2014) ให้ทัศนะว่าในบรรดาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ถือว่า ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าในแต่ละวันนักเรียนสามารถจะได้รับการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสูงสุด ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้ ผู้นำทางการเรียนการสอนจะต้องทำหน้าที่เพื่อปรับปรุงคุณภาพการสอนที่นำไปสู่การปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียน โดยมีความเชื่อหลัก 5 ประการ ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนเน้นการเรียนรู้ 2) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนจะต้องเป็นแบบทีมผู้นำ 3) วัฒนธรรมการปฏิบัติแบบเปิดและการปฏิบัติที่มีการสะท้อนผล 4) มีบริบทที่หลากหลายทางวัฒนธรรม 5) ความมีประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรและบุคคล
จากทัศนะทั้ง 5 องค์ประกอบหลัก หรือ ทัศนะภาวะผู้นำทั้ง 5 แบบ จะได้องค์ประย่อยแต่ละภาวะผู้นำ ได้ทั้งหมด 26 ตัวบ่งชี้ ดังในตารางต่อที่ 1


















จากองค์ประกอบหลักข้างต้นสามารถสร้างตัวโมเดลการวัดภาวะผู้นำ Ed.D ได้  ดังภาพที่ 1





             ดังนั้น ภาวะผู้นำ Ed.D หมายถึง ผู้นำหรือบุคคลที่มีทักษะหรือความสามารถนำทางการศึกษา ทางการบริหารการศึกษา ทางการเรียนการสอน และครู ให้ประสบความสำเร็้จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งหวังเกิดผลทางการเรียนรู้กับนักเรียน

 แหล่งที่มา

วิโรจน์ สารรัตนะ (2557) ภาวะผู้นา : หลักการ ทฤษฎีและประเด็นพิจารณาในบริบททางวัฒนธรรมสังคมและองค์กรไทย  
ความหมายของภาวะผู้นำ http://www.baanjomyut.com/library/leadership/02.html





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น