วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

นิยามและลักษณะของสังคมโลกและภูมิภาค

นิยามและลักษณะของสังคมโลกและภูมิภาค
                มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2558) ได้กล่าวว่า สังคมโลก หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างกันของมนุษย์ที่อยู่ในประเทศต่างๆ ในโลก เมื่อพิจารณาวิวัฒนาการของสังคมโลกพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแบ่งเป็น 3 ยุค คือ ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม และยุคสังคมเทคโนโลยี
สังคมโลกปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับระบบการค้าเสรี สิ่งแวดล้อม ระบอบประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน เมื่อผนวกกับกระแสโลกาภิวัฒน์ สภาพสังคมโลกในด้านเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวขึ้น แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วในการกีดกันทางการค้าด้วยมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี สำหรับด้านการเมือง ระบบการเมืองโลกมีลักษณะขั้วอำนาจเดียว ส่วนด้านสังคมและวัฒนธรรมเกิดการประสานเป็นหนึ่งเดียวหรือเกิดการปะทะกันทางวัฒนธรรม แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในอนาคต จะเกิดช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและประเทศที่ยากจนสูงขึ้น การเมืองโลกจะเคลื่อนเข้าสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ สังคมและวัฒนธรรมโลกจะก้าวเข้าสู่สังคมแห่งปัญญากิจกรรม (คู่มือผู้นำ.2558.น.)
 อัลวิน ทอฟฟเลอร์ นักวิชาการที่มีชื่อเสียงได้วิเคราะห์สถานการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ในหนังสือคลื่นลูกที่สาม โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมโลกเหมือนคลื่นสามลูกซึ่งซ้อนทับกัน ประกอบด้วย 1) สังคมเกษตรกรรม 2) สังคมอุตสาหกรรม 3) สังคมแห่งเทคโนโลยี
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ (2557)ได้แสดงทัศนะว่า สังคมโลก คือสังคมทีมีประชากรทั่วโลกมี 7 พันล้านคนในทุกๆ 15 ปีเพิ่มขึ้น 1 พันล้านคน เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ปัญหาสังคมที่พูดถึงจึงทำให้ปัญหาทางการเมืองขยายวงกว้างและความซับซ้อนมากขึ้น  ความซับซ้อนของปัญหาที่เชื่อมโยงกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม จะรุนแรงมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการศึกษาของสังคม ถ้ามีคุณภาพ (ไม่ใช่เน้นเชิงปริมาณแบบสังคมไทย) สังคมจะมีการดำเนินนโยบายในลักษณะที่ป้องปราม และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลักษณะที่ราบรื่น แต่สังคมใดมีการศึกษาที่ด้อยคุณภาพและเน้นเชิงปริมาณก็จะแก้ปัญหาแบบวัวหายล้อมคอกและมีการดำเนินนโยบายที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ซึ่งนำไปสู่การแย่งชิงผลประโยชน์ที่ทำให้ประชาชนเกิดการแบ่งขั้ว        
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (2557) ได้แสดงความคิดเห็นในเอกสารประกอบการสอนรายวิชาสังคมโลกและภูมิภาค ว่า ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงในทุกมิติทั้งทางสังคม เศรษฐกิจการเมืองและเทคโนโลยี อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและการเมืองโลก มีผลทำให้ประเทศต่างๆ ในโลกต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และมีความเชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้น โลกที่เคยกว้างใหญ่กลับเล็กลงดินแดนแต่ละประเทศที่อยู่ห่างไกลกัน สามารถติดต่อกันได้ภายในเวลาเสี้ยววินาทีประดุจเป็นหมู่บ้านเดียวกัน (Global Village) ภูเขาและทะเลซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติที่เคยเป็นอุปสรรคในการติดต่อไปมาหาสู่ดูเสมือนเลือนหายไปจนกลายเป็นโลกไร้พรมแดน นับจากนี้ต่อไปโลกกา ลังก้าวเข้าสู่ระยะแห่งการเปลี่ยนยุคเปลี่ยนสมัย การเปลี่ยนผ่านที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์โลกในยุคโลกาภิวัตน์
The Global University Network for Innovation หรือ GUNi (2015) ได้แสดงทัศนะในรายงาน World Social Forum and new world ว่า ความรู้ ความผูกพันและการศึกษาที่สูงขึ้น จะเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโลก ในรายงานได้กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของสังคมการศึกษาระดับอุดมศึกษาในโลก ประกอบด้วย 1) แสดงให้เห็นถึงอธิบายและวิเคราะห์แนวคิดปัจจุบันของมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมของชุมชนและความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคทั่วโลก 2) แสดงให้เห็นถึงวิธีการเชื่อมโยงความรู้กับสังคม การนำเสนอการปฏิบัติที่แตกต่างกันกลไกและโครงสร้างรวมทั้งผลกระทบของการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน, การเรียนรู้, การวิจัยและกิจกรรมของสถาบัน 3) ระบุความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันภายในภูมิภาคของโลกที่แตกต่างกัน แสดงลักษณะระหว่างประเทศและการให้ปัจจุบันแผนที่ดินแดนและใจเกี่ยวกับวิธี 4) การมีส่วนร่วมกับสังคม ทางสังคมมีส่วนร่วมในการปฏิบัติที่มีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์รวมทั้งเป็นผู้นำการมีส่วนร่วมและกระบวนการในการตัดสินใจ 5) เสนอขั้นตอนในการมีส่วนร่วมของความก้าวหน้าการศึกษาระดับสูงที่จะสร้างขึ้นเพียงสังคมที่เป็นธรรมและยั่งยืน 6) มีเครื่องมือสำหรับผู้ปฏิบัติงานการศึกษาที่สูงขึ้นผ่านตัวอย่างของการปฏิบัติที่ดีนวัตกรรมประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องและหรือโครงการที่จะก้าวไปข้างหน้า โครงสร้างประกอบด้วย  (1) บริบท (2) ประเด็นที่ทั่วโลกเกี่ยวกับความรู้การมีส่วนร่วมและการศึกษาสูง (3) การวิจัยเกี่ยวกับความรู้การมีส่วนร่วมและการศึกษาสูง (4) การพัฒนาภูมิภาค (5) ในอนาคตวิสัยทัศน์และวาระสำหรับการดำเนินการและ (6) การเพิ่มเติม
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าความหมายของสังคมโลกในภาพรวม คือความสัมพันธ์ระหว่างกันของมนุษย์ที่อยู่ในประเทศต่างๆ ในโลก และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ นอกจากนี้ อาจให้ความหมายของสังคมโลกในแง่มิติด้านกายภาพ มิติด้านการรวมกลุ่มผลประโยชน์ระหว่างประเทศ มิติด้านอุดมการณ์ทางการเมือง และมิติด้านลำดับการพัฒนาความเจริญ
โลกวันนี้และในอนาคตจึงเป็นโลกที่ไม่ได้แข่งขันทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองเพียงเท่านั้นแต่ยังเป็นโลกของการแข่งขันที่ระบบการคิดซึ่งชี้วัดด้วยคุณภาพของระบบการศึกษาเป็นหลักบทบาทของการศึกษา เปรียบเทียบสังคมเกษตรกรรม สังคมอุตสาหกรรม และสังคมปัจจุบันที่เรียกว่ายุคความรู้ ไว้ใน ๔ บทบาท อันได้แก่ (๑) เพื่อการทำงานและเพื่อสังคม (๒) เพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตน (๓) เพื่อทำหน้าที่พลเมือง และ (๔) เพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า
เปรียบเทียบสังคมไทยกับสังคมโลกและภูมิภาค
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2552) ได้กล่าวใน รายงานการวิจัยเรื่องภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10 - 20 ปี ว่าสภาพปัจจุบันและแนวโน้มของบริบทโลกที่ส่งผลต่อการศึกษาในอนาคต 10 - 20 ปีข้างหน้า ในด้านต่างๆ สังคมโลกในอนาคตที่ส่งผลต่อสังคมไทยจะเป็นสังคม 3 ลักษณะ คือ 1) สังคมแข่งขัน ที่ใช้ความรู้เป็นฐานของการพัฒนาและการแข่งขัน เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ในยุคเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้ 2) สังคมสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนจะได้รับความสำคัญมากขึ้นในสังคมไทยจากการบังคับใช้กฎหมายที่มีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้น และ 3) สังคมพอเพียง จากสภาวะการแข่งขันและวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่จะต่อเนื่องในอนาคตทำให้สังคมไทยต้องหันมาให้ความสำคัญในเรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจังเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางชีวิตและสังคม
เอกกวีร์  พิทักษ์ธนัชกุล (2558) ได้แสดงความเห็นว่า การศึกษาในสังคมโลกยุคปัจจุบัน นั้นคือ          การศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับชีวิตของเราทุกคน และเป็นสิ่งที่ทุกคนแสวงหาองค์ความรู้เพื่อมาใช้ในการดำเนินชีวิต การทำงาน และการสร้างความสำเร็จให้กับชีวิตของเราทุกคน เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการศึกษามีอิทธิพลต่อสังคมโลกในปัจจุบัน ต่างคนต่างแสวงหาหลักสูตร สถาบัน หรือสถานที่สำคัญเก็บเกี่ยวความรู้นั้น ๆ อย่างจริงจัง และเป็นที่คาดหวังว่าจะค้นพบตัวตนได้จากการศึกษาในสาขาหรือหลักสูตรนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน
          ระบบโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กระแสโลกาภิวัตน์ได้เข้ามาอิทธิพลต่อหลาย ๆ ประการในสังคม ไม่เว้นแต่ระบบการศึกษาที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เพื่อก่อให้เกิดความทันสมัยในองค์ความรู้ และสอดคล้องต่อผู้ศึกษาและยังมีส่วนช่วยดึงดูดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาและนำองค์ความรู้ไปใช้เพื่อเกิดประโยชน์ต่อไป
         
กระทรวงศึกษาธิการ (2557) ได้แสดงทัศนะว่า ในปัจจุบันสภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและเทคโนโลยี เด็กเป็นสมาชิกหนึ่งของสังคมย่อมที่จะต้องเรียนรู้ในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ สำหรับสังคมไทยก่อนปี พ.ศ. 2558 จะต้องเตรียมความพร้อมตนเองเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนซึ่งจะรวมตัวกันในปี 2558 เพื่อร่วมมือกันสร้างความแข็งแกร่งให้กับสมาชิกอาเซียน เด็กปฐมวัยคือพลเมืองของประเทศไทย จึงได้รับผลกระทบเรื่องนี้เช่นกัน ซึ่งการเตรียมตัวที่ดีที่สุดคือการให้การศึกษา แก่ประชาชน เพราะการศึกษาจะช่วยให้คนเกิดการเรียนรู้ที่จะปรับตัว ดังพระบรมราโชวาทของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงพระราชทานแก่คณะครูและนักเรียน ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2518 ความว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดประการหนึ่งของชีวิตและส่วนรวม คือ การศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานส่งเสริมความเจริญมั่นคงเกือบทุกอย่างในบุคคลและประเทศชาติดังนั้นการให้เด็กไทยได้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนจึงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อทำความเข้าใจเรื่องของมนุษยชาติ ความเข้าใจนานาชาติ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สังคมวิทยา หน้าที่พลเมือง ประวัติศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และภาษา ซึ่งการสอนสังคมสมัยใหม่นั้น ต้องสอนเพื่อการรู้เท่าทันการเปลี่ยน แปลงสังคม และนวัตกรรม แนวคิดร่วมสมัยที่ควรนำมาใช้พัฒนาเด็กคือ ความเข้าใจเรื่องอาเซียนและการศึกษาเพื่อความเข้า ใจระหว่างวัฒนธรรม ส่วนสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ ชุมชน พ่อแม่ผู้ปกครองร่วมกันกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กไทยให้สอดรับกับประชาคมอาเซียนว่า เด็กไทยควรมีทั้งด้านความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ดังนี้
1)   ด้านทักษะพื้นฐาน เช่น พูดภาษาได้อย่างน้อย 2 ภาษาคือ ภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน
2)   มีทักษะพลเมือง ได้แก่ เคารพและยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
3)   มีทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน ได้แก่ เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
4)   ด้านเจตคติ ให้มีความตระหนักในความเป็นอาเซียน มีความภูมิใจในความเป็นไทย เป็นต้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (2557)ได้กล่าวว่า สภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มประชากรสูงขึ้นโครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น แต่วัยเด็กหรือวัยหนุ่มสาวมีจำนวนลดลง ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากการใช้แรงงานคนจำนวนมากเป็นระบบเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานความรู้ ในขณะที่การเมืองมีการขยายสิทธิและเสรีภาพเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ส่วนสภาพสังคมมีระดับความยากจนสูงขึ้น และได้รับอิทธิพลกระแสวัฒนธรรมจากต่างชาติ ทำให้เกิดค่านิยมวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ซึ่งก่อให้เกิดปัญหานานัปการ รวมทั้งทำให้วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นสูญหาย ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดของสังคมไทยในปัจจุบันจำต้องปรับเปลี่ยนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่คนในสังคมต้องเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้การเรียนรู้เป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือตนเองและพึ่งตนเองได้ เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมโดยรวม
เอกกวีร์  พิทักษ์ธนัชกุล (2558) ประเทศไทยทุกวันนี้ผู้ศึกษาสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้ง่ายขึ้น เช่น ระบบการสมัครออนไลน์ การสมัครผ่านไปรษณีย์ และอื่นๆ อีกหลายวิธีที่จะเข้าถึงระบบการศึกษาสถาบันการศึกษามีการปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นอย่างมาก มีการนำเทคโนโลยีมาใช้อำนายความสะดวกสำหรับผู้ศึกษา เช่น ระบบลงทะเบียนออนไลน์ ระบบการแจ้งผลการเรียนออนไลน์ เป็นต้น การพัฒนาหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรก็เป็นอีกประการสำคัญที่จะเป็นที่ดึงดูดผู้ที่สนใจศึกษาให้เข้ามาศึกษาแล้ว ยังมีการพัฒนาบุคลากรในหลากหลายวิชาชีพให้สอดคล้องกับหลักสูตรและความต้องการของสังคม รวมถึงเพื่อใช้สำหรับงานที่ผู้ศึกษาคาดหวังในการประกอบอาชีพในอนาคต
          ทุกวันนี้ผู้ศึกษาสามารถเข้าถึงแหล่งเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์ต่อการศึกษา การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสามารถทำได้อย่างง่ายดาย เช่นผ่านทางอุปกรณ์อย่างโทรศัพท์มือถือแท็บเล็ต หรืออื่นๆ อีกมากมาย ที่จะช่วยให้ผู้สนใจศึกษาสามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ ที่มีความแตกต่างเหมือนแต่ก่อน ที่การศึกษาจะอยู่ในชั้นเรียนหรือในสถานที่ที่ใช้สำหรับศึกษาหาความรู้อย่างเช่นห้องสมุดเท่านั้น
          มหาวิทยาลัยเปิดเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญสำหรับการศึกษาในยุคปัจจุบัน ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้อย่างไม่จำกัดเวลา และสถานที่ อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ศึกษาสามารถเลือกสถานที่สอบหรือเวลาได้เอง โดยไม่ยึดติดกับการระบบการศึกษารูปแบบเดิม การศึกษาลักษณะนี้ เป็นการศึกษาตามอัธยาศัยและโดยเสรีทำให้ผู้ศึกษารู้สึกผ่อนคลายกับความตึงเครียดในการเรียน อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาอย่างเต็มที่  ซึ่งในมหาวิทยาลัยเปิดในปัจจุบันอย่าง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งกระแสโลกาภิวัตน์ปัจจุบัน เวลาเป็นสิ่งที่สำคัญต่อทุกคนเป็นอย่างมาก ทำให้กระแสตอบรับในมหาวิทยาลัยเปิดถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมากและประการสำคัญสิ่งที่ผู้ศึกษาจะได้จากระบบมหาวิทยาลัยเปิดนี้ คือ ความอดทด และความมีระเบียบวินัยในการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะถือว่ามหาวิทยาลัยได้เปิดโอกาสให้สามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองผ่านช่องทางต่าง ๆ และผู้เรียนต้องจัดสรรเวลาว่างของตนเพื่อเอาใจใส่ต่อการเรียน ทำให้ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเปิด ได้รับการยอมรับจากตลาดงานที่ต่างชมว่า บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเปิดมีความอุตสาหะ ขยัน และมีความพากเพียรต่อการทำงานเป็นอย่างมาก อดทนต่อภาวะกดดันหรือภาวะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ประการนี้เองที่เป็นสิ่งสำคัญที่สังคมต้องการคือ แม้ว่าผู้เรียนจะไม่เก่งแต่ขอให้สามารถทำงานได้ออกมาเป็นอย่างดี และสร้างประโยชน์ต่อการทำงานได้ต่อไปอนาคต
สังคมโลกทุกวันนี้ คือ ยุคสังคมความรู้ ในการศึกษาสำหรับสังคมโลกที่แตกต่างกันมากหากเราต้องการให้สังคมไทยดำรงศักดิ์ศรี และคนไทยสามารถอยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข การศึกษาไทยต้องก้าวไปสู่เป้าหมายในยุคความรู้ไม่ใช่ย่ำเท้าอยู่กับเป้าหมายในยุคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม นี่จึงเป็นจุดท้าทายครูเพื่อศิษย์ และเป็นเข็มทิศนำทางครูเพื่อศิษย์ให้ได้สนุกสนานและมีความสุขในการทำงานอย่างมีเป้าหมายเพื่อชีวิตที่ดีของศิษย์ในโลกยุคความรู้ และนักเรียนต้องมีทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21
                                                                         แหล่งอ้างอิง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2558) ไทยกับสังคมโลก (Thailand and the World community) พิมพ์ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2555 http://lovemeena.com/book/thai_and_theworld.php
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์  http://chaoprayanews.com/blog/politicaleconomy/2013/07/15//
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (2557)  วารสารคณะศึกษาศาสตร์ประจำปี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (2557)  วารสารคณะศึกษาศาสตร์ประจำปี
ศึกษาธิการ, กระทรวง. ( 2546 ). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 .กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา
เอกกวีร์  พิทักษ์ธนัชกุล ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-58(500)/page9-1-58(500).html
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2552) http://www.onec.go.th/onec_web/page.php?mod=Newseducation&file=view&itemId=1264
The Global University Network for Innovation (GUNi)
http://www.guninetwork.org/resources/he-articles/th-guni-world-report-knowledge-engagement-and-higher-education-contributing-to-social-change




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น