การบริหารการศึกษา ( Educational
Administration )
ความหมายของ
การบริหารการศึกษาประกอบด้วยคำสำคัญ 2 คำ
คือคำว่า การบริหาร กับการศึกษา ขออธิบายแบบแยกคำความหมายของคำว่า “การบริหาร” มีนักวิชาการให้ความหมายไว้หลากหลาย
ดังนี้
การบริหาร
คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น
การบริหาร
คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2
คนขึ้นไปที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
การบริหาร
คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน
เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
การบริหาร
คือ กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2
คนขึ้นไปร่วมกันดำเนินการ ให้บรรลุจุดประสงค์ร่วมกัน
การบริหาร
คือ การใช้ศาสตร์และศิลปะนำทรัพยากรการบริหาร (Administrative
resource) มาประกอบการตามกระบวนการบริหาร (Process of
administration) ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหาร
คือศิลปะในการทำให้สิ่งต่างๆได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ
หมายความว่าผู้บริหารไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ
แต่ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานจนเป็นผลสำเร็จตรงตามจุดหมายขององค์การ หรือตรงตามจุดหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว
ดังนั้นสรุปได้ว่า
คือ
การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้ความหมายของ
การศึกษา คือ การงอกงาม หรือ การจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมแก่ผู้เรียน
เพื่อผู้เรียนจะได้งอกงามขึ้นตามจุดประสงค์
การศึกษา
คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
การศึกษา
คือ การสร้างเสริมประสบการณ์ให้ชีวิต
การศึกษา
คือ เครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามทุกทางในตัวบุคคล
ดังนั้นสรุปได้ว่า คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้
ความคิด ความสามารถ และเป็นคนดีเพราะฉะนั้นนำมารวมกันจะได้
ความหมายของ “การบริหารการศึกษา” ว่า
“การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และเป็นคนดี ซึ่งมีสอดคล้องกับความหมายของ ”การบริหารการศึกษา” ที่มีผู้ให้ไว้ ดังนี้
การบริหารการศึกษา
คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน
หรือสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน เช่น ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม
หรือคุณธรรม ทั้งในด้านการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ
เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ
ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผน
การบริหารการศึกษา
คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ
เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน นับตั้งแต่บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ
พฤติกรรมและคุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม
โดยกระบวนการต่างๆที่อาศัยการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีต่อบุคคล
เพื่อให้บุคคลพัฒนาตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่
ดังนั้นสรุปได้ว่า
การบริหารการศึกษา คือ “การดำเนินงานหรือปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้
ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”
อธิบายขยายความได้ว่า
ที่หมายถึงการดำเนินงานของกลุ่มบุคคล
ซึ่งอาจเป็นการดำเนินงานของผู้อำนวยการสถานศึกษากับบุคลากรทางการศึกษา
หรือครูใหญ่ร่วมกับครูน้อยในโรงเรียน
อธิการบดีร่วมกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย
สถาบันการศึกษาต่างๆ
และกลุ่มบุคคลเหล่านี้ต่างร่วมมือกันพัฒนาคนให้มีคุณภาพทั้งสิ้น การจะพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้นั้น
จะต้องมีการดำเนินการในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม การวัดผล การจัดอาคารสถานที่และพัสดุครุภัณฑ์
การสรรหาบุคคลมาดำเนินการหรือมาทำการสอนในสถาบันการศึกษา การปกครองนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเป็นคนดีมีวินัย และอื่นๆ
ซึ่งการดำเนินงานเหล่านี้ ก็คือ ภารกิจทางการบริหารการศึกษา หรือ
งานบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษา ( Educational
Administration )
ความหมายของ
การบริหารการศึกษาประกอบด้วยคำสำคัญ 2 คำ
คือคำว่า การบริหาร กับการศึกษา ขออธิบายแบบแยกคำความหมายของคำว่า “การบริหาร” มีนักวิชาการให้ความหมายไว้หลากหลาย
ดังนี้
การบริหาร
คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น
การบริหาร
คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2
คนขึ้นไปที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
การบริหาร
คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน
เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
การบริหาร
คือ กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2
คนขึ้นไปร่วมกันดำเนินการ ให้บรรลุจุดประสงค์ร่วมกัน
การบริหาร
คือ การใช้ศาสตร์และศิลปะนำทรัพยากรการบริหาร (Administrative
resource) มาประกอบการตามกระบวนการบริหาร (Process of
administration) ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหาร
คือศิลปะในการทำให้สิ่งต่างๆได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ
หมายความว่าผู้บริหารไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ
แต่ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานจนเป็นผลสำเร็จตรงตามจุดหมายขององค์การ หรือตรงตามจุดหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว
ดังนั้นสรุปได้ว่า
คือ
การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้ความหมายของ
การศึกษา คือ การงอกงาม หรือ การจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมแก่ผู้เรียน
เพื่อผู้เรียนจะได้งอกงามขึ้นตามจุดประสงค์
การศึกษา
คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
การศึกษา
คือ การสร้างเสริมประสบการณ์ให้ชีวิต
การศึกษา
คือ เครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามทุกทางในตัวบุคคล
ดังนั้นสรุปได้ว่า คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้
ความคิด ความสามารถ และเป็นคนดีเพราะฉะนั้นนำมารวมกันจะได้
ความหมายของ “การบริหารการศึกษา” ว่า
“การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และเป็นคนดี ซึ่งมีสอดคล้องกับความหมายของ ”การบริหารการศึกษา” ที่มีผู้ให้ไว้ ดังนี้
การบริหารการศึกษา
คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน
หรือสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน เช่น ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม
หรือคุณธรรม ทั้งในด้านการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ
เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ
ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผน
การบริหารการศึกษา
คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ
เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน นับตั้งแต่บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ
พฤติกรรมและคุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม
โดยกระบวนการต่างๆที่อาศัยการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีต่อบุคคล
เพื่อให้บุคคลพัฒนาตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่
ดังนั้นสรุปได้ว่า
การบริหารการศึกษา คือ “การดำเนินงานหรือปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้
ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”
อธิบายขยายความได้ว่า
ที่หมายถึงการดำเนินงานของกลุ่มบุคคล
ซึ่งอาจเป็นการดำเนินงานของผู้อำนวยการสถานศึกษากับบุคลากรทางการศึกษา
หรือครูใหญ่ร่วมกับครูน้อยในโรงเรียน
อธิการบดีร่วมกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย
สถาบันการศึกษาต่างๆ
และกลุ่มบุคคลเหล่านี้ต่างร่วมมือกันพัฒนาคนให้มีคุณภาพทั้งสิ้น การจะพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้นั้น
จะต้องมีการดำเนินการในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม การวัดผล การจัดอาคารสถานที่และพัสดุครุภัณฑ์
การสรรหาบุคคลมาดำเนินการหรือมาทำการสอนในสถาบันการศึกษา การปกครองนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเป็นคนดีมีวินัย และอื่นๆ
ซึ่งการดำเนินงานเหล่านี้ ก็คือ ภารกิจทางการบริหารการศึกษา หรือ
งานบริหารการศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น