บทบาทผู้บริหารโรงเรียน กับ PLC
ผู้บริหารโรงเรียนซึ่งเป็นกลไกลหลักสำคัญในการบริหารโรงเรียน
และเป็นผู้นำของโรงเรียน รวมทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
(Professional
Learning Community : PLC) ให้เกิดขึ้นในโรงเรียน และมีการดำเนินงาน
สร้างองค์ความรู้แก่ชุมชน ซึ่งมีแนวทางสำหรับผู้บริหารในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
ในรูปแบบของ 9S Model ด้านการบริหารจัดการ
การที่โรงเรียนจะสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จ
บุคคลสำคัญแห่งความสำเร็จนี้ก็คือผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน
ซึ่งจะมีขั้นตอนการดำเนินการที่โรงเรียนต้องดำเนินการดังนี้
1. กำหนดนโยบาย (Set
Policy) โรงเรียนหรือผู้อำนวยการโรงเรียนต้องกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ครูได้ทราบและปฏิบัติ
2. ตั้งคณะทำงาน (Set
Committee) โรงเรียนต้องแต่งตั้งคณะทำงาน/ผู้รับผิดชอบ
โดยมอบหมายให้รองผู้อำนวยการโรงเรียน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ
3. กำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อน (Set
PLC Strategies) คณะทำงานร่วมกันกำหนดกลยุทธ์การขับเคลื่อนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่ความสำเร็จว่าโรงเรียนต้องทำอะไร
ครูต้องทำอำไร และผู้เกี่ยวข้องต้องทำอะไร มีบทบาทอย่างไร
4. จัดทำคู่มือ (School
Policy Handbook Making) เพื่อให้มีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจนคณะทำงานร่วมกันจัดทำ
“คู่มือการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ โรงเรียน...........”
ขึ้นมาเพื่อให้ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
5. ให้การสนับสนุน (Support)
โรงเรียนจะให้การสนับสนุนแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้นี้อย่างไร
เช่นการเชิญวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้ การจัดประชุมอบรม
การให้การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ การหาผู้เชี่ยวชาญมาเป็นที่ปรึกษา
และ.......เป็นต้น
6. การนิเทศ ติดตาม (Supervisor
and Mentoring) การทำจะประสบความสำเร็จและบังเกิดผลดีจำเป็นต้องมีการนิเทศ
ติดตามผลการดำเนินงาน และช่วยเหลือ
โรงเรียนจะต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการนิเทศติดตามโดยวิธีใด เป็นบุคคลหรือคณะบุคคล
และบุคคลเหล่านี้คือใคร
7. การสรุปและรายงานผล (Summarize
and Report) ครูทุกคนเมื่อได้สร้างและดำเนินการตามชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแล้วต้องมีการสรุปและรายงาน
โรงเรียนต้องวางแผนการให้ครูรายงานผลว่าจะต้องรายงานโดยวิธีใด อย่างไร เมื่อไหร่
นอกจากนั้นคณะกรรมการนิเทศ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วก็ต้องรายงานผลเช่นเดียวกันเพื่อที่จะได้นำผลมาพัฒนาต่อไป
8. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share
and Learn) เมื่อสิ้นสุดในแต่ละภาคเรียนหรือแต่ละปีการศึกษาโรงเรียนน่าที่จะต้องจัดให้ครูได้นำผลงานการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
ซึ่งอาจนำไปสู่การหาผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ต่อไป
9. การยกย่องชมเชย (Esteem) ผลงานการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ถูกค้นพบว่ามีผลงานการปฏิบัติที่ดี
(Good Practice) หรือที่เป็นเลิศ (Best Practice) โรงเรียนอาจให้การยกย่องชมเชยด้วยการประกาศเกียรติคุณ มอบเกียรติบัตรให้เป็นขวัญกำลังใจ
การรวบรวมผลงานจัดพิมพ์เป็นเอกสาร การนำเผยแพร่บนเว็ปไซค์หรือช่องทางอื่น ๆแหล่งที่มา กสิณธารา
สนใจเรื่องนี้ มีงานวิจัยหรือหนังสือของผู้เขียนมั้ยคะ
ตอบลบ