AI (Artificial Intelligence)
ปัญญาประดิษฐ์
ในอนาคตข้างหน้าเมื่อเราสร้าง AI (Artificial
Intelligence) ขึ้นมาให้มันฉลาดกว่าสมองมนุษย์ได้แล้วเราจะสามารถควบคุมและใช้งานได้อย่างเต็มประโยชน์เพื่อมนุษยชาติอย่างปลอดภัย
ไม่แน่นะเมื่อเราสร้าง AI (Artificial Intelligence) ได้แล้วโลกเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คาดไม่ถึง
แม้โรคร้ายที่เราเคยรักษาไม่หายอาจจะรักษาได้ อะไรที่เป็นไปไม่ได้สำหรับสมองมนุษย์
AI (Artificial Intelligence) อาจทำขึ้นมาได้และนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์
AI
(Artificial Intelligence) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์
คือโปรแกรม Software ต่าง ๆ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้
หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่า
ปัญญาประดิษฐ์
AI
(Artificial Intelligence) ยังเกี่ยวข้องกับการสร้างจักรกลอัจฉริยะ
หรืองานบริการที่ตอบโต้เหมือนมนุษย์ – ฟีเจอร์ที่เริ่มพบได้ในแทบทุกอย่างตั้งแต่การแปลภาษา
ไปจนถึงผู้ช่วยเสมือนหรือวิดีโอเกมส์ การนำเอาศักยภาพของ AI (Artificial
Intelligence) เข้ามาทำงานซ้ำๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก
การจดจำคำพูด การแก้ปัญหาจะช่วยให้ผู้คนบรรลุเป้าหมายได้มากขึ้นในขณะที่ทำงานน้อยลง
หรือการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่งานนั่นเอง
คำนิยาม
AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการแบ่งได้
4 กลุ่ม ดังนี้
1. การกระทำคล้ายมนุษย์
(Acting Humanly)
- การสร้างเครื่องจักรที่ทำงานในสิ่งซึ่งอาศัยปัญญาเมื่อกระทำโดยมนุษย์
- สื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างคือ
การแปลงข้อความเป็นคำพูด และ การแปลงคำพูดเป็นข้อความ
-มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ การใช้คอมพิวเตอร์รับภาพได้โดยอุปกรณ์รับสัมผัสแล้วนำภาพไปประมวลผล
- เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ อย่างการ ดูดฝุ่น
เคลื่อนย้ายสิ่งของ
- เรียนรู้ได้ โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ
แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
2. การคิดคล้ายมนุษย์
(Thinking Humanly)
- กลไกของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ
การแก้ปัญหา การเรียนรู้
- ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้
ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร
ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง
การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง
วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด
ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร
4. คิดอย่างมีเหตุผล
(Thinking rationally)
- การศึกษาความสามารถในด้านสติปัญญาโดยการใช้โมเดลการคำนวณ
- การศึกษาวิธีการคำนวณที่สามารถรับรู้ ใช้เหตุผล และกระทำ
- ใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ
5. กระทำอย่างมีเหตุผล
(Acting rationally)
- การศึกษาเพื่อออกแบบโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ
หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ที่มีปัญญา
- พฤติกรรมที่แสดงปัญญาในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
- การเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
เช่น โปรแกรมเล่นเกมหมากรุก ที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้
บทสรุปนิยาม
AI (Artificial Intelligence)
หมายถึง
ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต
ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก
แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่น ๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา
ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ
การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง
แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลาย ๆ
อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่น
แหล่งที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น