สมาธิเบื้องต้น
หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร
อัครเดช
นีละโยธิน
1.วัตถุประสงค์
เพื่อการสร้างพลังจิต
พลังจิตที่ได้จากการทำสมาธิมี ๒ ประเภท คือ พลังหลัก และพลังเฉลี่ย
1.1
พลังหลัก - จะถูกเก็บสะสมไว้ในจิต
ไม่มีการแตกสลายตามกายเนื้อแต่สะสมข้ามภพ-ชาติ
1.2
พลังเฉลี่ย - จะถูกใช้ไปในชีวิตประจำวัน
การทำสมาธิเริ่มจากการบริกรรม
กำจัดความคิดและอารมณ์ต่าง ๆ ออกไป จนกว่าจิตจะสงบเบา
สมาธิต้องอยู่บนพื้นฐานที่ไม่มีอารมณ์ กำจัดได้มากเท่าไรก็เป็นสมาธิได้ลึกเท่านั้น
เพราะการทำสมาธิเป็นการกะเทาะอารมณ์ออกจากจิต เปรียบดังกะเทาะสนิมออกจากเนื้อเหล็ก
ความนึกคิด การเคร่งเครียดต่อการงานทุกวัน ทำให้สมองต้องทำงานตลอดเวลาไม่มีเวลาพัก
ยิ่งคิดหรือ เคร่งเครียด
มากก็ยิ่งเป็นเหตุให้สมองมีความเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่ากำหนด
การว่างจากความคิดเสียบ้าง จึงเป็นวิธีที่ทำให้สมองได้รับการพักผ่อน การทำสมาธิเป็นการหยุดพักที่มีประสิทธิภาพ
เปรียบเหมือนคนเดินทางไกลหลังจากการหยุดพักสักชั่วโมงหรือไม่กี่นาที
ก็ย่อมได้เรี่ยวแรงกลับมา
2. ลักษณะ
การทำสมาธิ
มี ๒ แบบคือ สมถะ และวิปัสสนา
2.1 สมถะ ต้องการให้ทรงสติสัมปชัญญะ ได้ความสงบ สุขสบาย
2.2 วิปัสสนา เพื่อการรู้แจ้งเห็นจริง
ใช้ปัญญาเป็นเครื่องภาวนาตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕
การทำสมาธิเบื้องต้นจำต้องมีสมถะ
คือ ควบคุมอารมณ์จิตให้ทรงอยู่ ถ้าอารมณ์ไม่ทรงตัว วิปัสสนาจะไม่มีผล
เป็นวิปัสสนาตะครุบเงา หรือวิปัสสนาตกน้ำ
วิปัสสนาตกน้ำ คำพังเพย
เหมือนเงาเพชรใต้น้ำเอย บอกให้
งมเอาเพชรเลย งมเปล่าแลนา
วิปัสสนาขาดสมาธิไซร้ ผิดแล้วทางกลาง
การ ทำสมาธิต้องมีขั้นตอน
การทำสมาธิขั้นต้นจึงต้องปูรากฐานด้วยความระมัดระวัง ควรจะมีผู้รู้คอยแนะนำ
เปรียบเหมือนขั้นตอนของหมอรักษาโรคภัยไข้เจ็บ คนที่ไม่ไปหาหมอ
แต่ซื้อยามารับประทานเองตามคำแนะนำ ของบางคน อาจจะเป็นอันตรายหรือไม่ปลอดภัย
เช่นเดียวกับผู้ฝึกสมาธิที่ไม่มีครูอาจารย์แนะนำ คลำ ๆ ทำไป ก็คงจะได้ผลอยู่บ้าง
แต่ก็ไม่แน่นอน เหมือนกับคนไข้รับประทานยากลางบ้านไม่มีหมอสั่งให้สมาธิมีคุณสมบัติ
: ซึมซาบ อ่อนละมุน นุ่มนวลแต่เหนียวแน่น
เหมือนลมละเอียดชนิดหนึ่งที่ถูกกลั่นกรองแล้วคล้ายปุ้ยนุ่น
เพียงแต่ปุยนุ่นไม่แกร่ง แต่สมาธิแกร่ง
๑.
กำหนดเส้นทางจงกรม
๒.
ยืนตรงจุดเริ่มต้นทางเดินจงกรม พนมมือระหว่างอกแล้ว หลับตากล่าว
คำอธิษฐานเดินจงกรม ว่า "เมตตา กรุณา มุทิตา
อุเบกขา" ขอให้ใจของข้าพเจ้าาจงสงบเป็นสมาธิ ยกมือที่พนมสูงขึ้นระหว่างคิ้ว
กล่าวในใจว่า "สาธุ"
๓.
เอามือลง ใช้มือขวาจับมือซ้าย ห้อยมือพอสบายไม่เกร็ง
๔.
กำหนดจิตไว้ที่หน้าผาก ไม่ต้องหลับตา ตามองทางเดินจงกรมไกลว่าตัวประมาณ ๑.๕ - ๒
เมตร
๕.
เริ่มบริกรรมคำว่า "พุทโธ ๆ" อยู่ในใจ
พร้อมก้าวเท้าขวาเดินตามด้วยเท้าซ้าย ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป เดินในลักษณะเดินปกติ
๖.
เมื่อเดินสุดทางจงกรม ให้ค่อย ๆ หมุนตัวกลับทางขวา ยืนทรงตัวตรง
แล้วจึงเริ่มก้าวด้วยเท้าขวาเหมือนตอนเริ่มต้น
๗.
เมื่อครบตามเวลาทำกำหนด ให้ยืนตรงจุดเริ่มต้นเดิน พนมมือระหว่างอก กล่าวในใจว่า "สัพเพ
สัตตา สุขิตา โหนตุ" ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุข
ๆ เถิด แล้วยกมือที่พนมขึ้นระหว่างคิ้วแล้วกล่าวในใจว่า "สาธุ"
เป็นอันจบพิธีการเดินจงกรม
4. นั่งสมาธิ
นั่งขัดสมาธิ
ขาขวาทับขาซ้าย ตั้งกายตรง ยกมือพนมระหว่างอก กล่าวคำอธิษฐานสมาธิ " ข้าพเจ้า
ระลึกถึง คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดา มารดา คุณครูบาอาจารย์
จงมาดลบันดาล ให้เจ้าของข้าพเจ้า จงรวมลงเป็นสมาธิ พุทโธ ธัมโม สังโฆ,
พุทโธ ธัมโม สังโฆ,
พุทโธ ธัมโม สังโฆ, พุทโธ ๆ ๆ เอามือลง วางบนตัก มือขวาทับมือซ้าย หลับตาเบา ๆ บริกรรม พุทโธ ๆ ๆ
ในใจจนกว่าจะเลิก ตามเวลาที่กำหนดหลังจากนั้นให้ตั้งใจสวดแผ่เมตตาพิเศษ ดังนี้
สัพเพ สัตตา
สะทา โหนตุ, อะเวรา สุขะชีวิโน
ขอให้สัตว์ทั้งหลาย
จงเป็นผู้ไม่มีเวรต่อกันและกัน จงเป็นผู้ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อเถิด
กะตัง
ปุญญัง ผะลัง มัยหัง,
สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต
ขอให้สัตว์ทั้งสิ้นนั้น
จงเป็นผู้มีส่วนได้เสวยผลบุญ อันที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนั้นเทอญ
หมั่นศึกษาเพิ่มเติมฟังธรรม
หา พระอาจารย์บ้างตามสมควร แล้วท่านจะประสบความสำเร็จครับ
ขออนุโทสาธุด้วยครับ
เหตุผลที่ชาวพุทธ "จำเป็น" ต้องทำ "สมาธิ" ทุกวันนี้
มีชาวพุทธจำนวนมาก ที่ไม่รู้ว่า...
สมาธิ คือ
การที่จิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการทำสมาธิ
คือ เพิ่ม"พลังจิต")
- ร่างกาย ต้องมี กำลัง (พลัง) กาย และ จิต ก็ต้องมี พลังจิต เช่นกัน
- พลังกาย ได้จาก การกินอาหาร พลังจิต ได้จาก การทำสมาธิ
- ในชีวิตประจำวัน: ร่างกาย ต้องใช้ พลังกายในทุก ๆ กิจกรรม
ทำไม ทำให้พลังกายลดลง
ซึ่งต้องชดเชยกลับโดยการ ทานอาหาร เพราะ ถ้าพลังกายลดลงมากเกินไป
ร่างกายก็จะอ่อนแอถึงตายได้ จิต ก็จำเป็นต้องนำ พลังจิตออกมาใช้งาน ในทุก ๆ กิจกรรม
เช่นกัน ทำให้พลังจิตลดลง ซึ่งต้องโดยชดเชยกลับโดยการ ทำสมาธิ เพราะ
ถ้าพลังจิตลดลงมากเกินไป จิตใจก็จะอ่อนแอ-เสื่อม อาจถึงเป็นบ้าได้
ดังนั้น
พลังกาย และ พลังจิต จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์
- ความสุข / สงบในสมาธิ และ การเข้าฌานได้ เป็นแค่ “ผลพลอยได้”
ที่เกิดการสะสมพลังจิตไว้มากเพียงพอแล้ว เท่านั้น (ถ้าพลังจิตยังสะสมไม่มากพอ
จิตก็จะยังไม่สงบ และ ยังเข้าฌานไม่ได้)
หลวงพ่อวิริยังค์
ท่านจึงเน้นการทำสมาธิ เพื่อ นำพลังจิตมาใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องสำคัญ
ส่วนความสุข/สงบในสมาธิ หรือ การเข้าฌานได้ ก็ถือว่าเป็นกำไรของชีวิต การทำสมาธิ
“จำเป็น” ต้องบริกรรม
การทำสมาธิแบบบริกรรม
การบริกรรม
จิตเป็นหนึ่ง
ความสงบ
จิตมีพลัง
มีสติระลึกรู้
มีสติปัญญา
การรู้ทันอารมณ์
|
ทำให้จิตเป็นหนึ่ง
ทำให้เกิดความสงบ
ทำให้จิตมีพลัง
ทำให้มีสติระลึกรู้
ทำให้เกิดสติปัญญา
ทำให้รู้ทันอารมณ์
ทำให้จิตเป็นกลางได้
|
การบริกรรม
คือ
การนึกคำเพียง 1 คำ เท่านั้น ในใจ นึกซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ เช่น นึกคำว่า พุท-โธ , สัมมา-อรหัง, นะโมพุท-ธายะ, เตโช-กสิณัง,
ยุบหนอ-พองหนอ ฯลฯ (เลือกใช้แค่ 1 คำ เท่านั้น) กติกาที่สำคัญ คือ “ไม่ควรเปลี่ยนคำบริกรรม” เช่น
เลือกนึกคำว่า "พุท-โธ" ก็ต้องใช้ "พุท-โธ " เท่านั้น
ในทุกครั้งที่ทำสมาธิ
วิทิสาสมาธิ คือ
นั่งสมาธิ แค่ครั้งละ 5 นาที วันละ 3 ครั้ง(เช้า-กลางวัน-เย็น) ทุกวัน
วิทิสาสมาธิ เป็นรูปแบบสมาธิที่ง่ายที่สุด แต่ให้ผลเพิ่มพลังจิต ได้อย่างมหาศาล
เหมาะกับ คนสมัยใหม่ที่ไม่ค่อยมีเวลาทำสมาธิ ด้วยติดขัดภาระกิจ-การงาน-ปัญหาในชีวิตประจำวัน
เพราะใช้เวลาทำสมาธิแค่ 5 นาที ครับ บางคน
ถ้าจะให้หมั่นภาวนาเรื่อย ๆ ในขณะยืน-เดิน-นั่ง-นอน / ระหว่างการทำงาน
แต่เอาเข้าจริง ๆ เขาก็ทำไม่ได้ เพราะ ใจมัวแต่พะวง-กังวลเรื่องงาน วิทิสาสมาธิ
จึงเป็นการทำให้ง่าย สำหรับทุกคน เพราะ กำหนดเป็นเวลาชัดเจน 3 เวลา คือ เช้า-กลางวัน-เย็น เหมือน การทานข้าว/ยา ให้ตรงเวลา 3 มื้อ แค่นั้นเอง สำคัญที่สุด คือ "ต้องทำทุกวัน"
(ห้ามขาดแม้แต่วันเดียว) และ ถ้าทำ ติดต่อกัน แค่ 1 - 3 เดือน
รับรองเห็นผลดี แน่นอน ครับ
5. ประโยชน์ของสมาธิ
1. ทำให้หลับสบายคลายกังวล
2.
กำจัดโรคภัยไข้เจ็บ
3.
ทำให้สมองปัญญาดี
4.
ทำให้มีความรอบคอบ
5.
ทำให้ระงับความร้ายกาจ
6.
บรรเทาความเครียด
7.
มีความสุขพิเศษ
8.
ทำให้จิตใจอ่อนโยน
9.
กลับใจได้
10.
เวลาสิ้นลมพบทางดี
11.
เจริญวาสนาบารมี
12.
เป็นกุศล
หลายคนคิดว่า
สมาธิเป็นเรื่องของพระสงฆ์,
คนที่ปล่อยวางทางโลกแล้ว, ต้องเข้าป่า,
ต้องหนีทางโลก , เรื่องของคนแก่ถือศีลตามวัด
จึงจะทำสมาธิได้ แต่จริง ๆ แล้ว สมาธิเกี่ยวข้องกับ "ชีวิตประจำวัน"
ของทุกคน ในทุกอย่างก้าว และ เป็นเรื่องพื้นฐานที่สุด สำหรับชาวพุทธ
(ที่ไม่ใช่แค่พุทธในบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน !) สามารถฝึกสมาธิ ในทุกสถานที่
เช่น ที่บ้าน ที่โรงเรียน ที่ทำงาน และ ทำได้ ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย (เด็ก วัยรุ่น
วัยทำงาน ผู้ใหญ่ คนชรา) สมาธิ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคน"จำเป็น" ต้องทำ
บรรณานุกรม
พระธรรมมงคลญาณ
(หลวงพ่อวิริยังค์สิรินฺธโร).หลักสูตรครูสมาธิ เล่ม ๓. (กรุงเทพมหานคร: ห.จ.ก.พิฆณี, ๒๕๕๗).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น