วันพุธที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560

่บทความวัฒนธรรม

วัฒนธรรม
บทนำ
วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของคนในสังคม ซึ่งได้สืบทอดต่อมายังชนรุ่นหลัง วัฒนธรรมจึงเปรียบเสมือนเครื่องห่อหุ้มสังคม ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ เพราะฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีสังคม หรือที่ใดมีวัฒนธรรมที่นั่นก็มีสังคม ที่ใดมีสังคมที่นั่นก็มี วัฒนธรรม เท่ากับเป็นของสิ่งเดียวกันที่มีสองด้านแยกกันในทางปฏิบัติไม่ได้ หน้าที่ของวัฒนธรรมที่พึงมีต่อสังคม เป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน สามารถกำหนดบทบาท ความสัมพันธ์ของมนุษย์ ทำหน้าที่ควบคุมสังคม แสดงถึงเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ที่แสดงว่าสังคมหนึ่งแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง ทำให้เกิดความเป็นอันเหนึ่งอันเดียวกันในสังคม เกิดเป็นปึกแผ่นความจงรักภักดี และอุทิศตนให้แก่สังคม ทำให้สังคมอยู่รอด วัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและหล่อหลอมบุคลิกภาพของสังคมให้กับสมาชิก ทำให้สมาชิกแต่ละคนและแต่ละสังคมได้ตระหนักถึงความหมายและวัตถุประสงค์ ของการมีชีวิตของคน เช่น สังคมไทยพุทธเชื่อว่าเกิดมาแล้วต้องชดใช้กรรม ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับชีวิตของคน เขาก็เชื่อว่าเป็นเรื่องของกฎแห่งกรรม สร้างหรือจัดรูปแบบความประพฤติและการปฏิบัติร่วมกัน โดยบุคคลไม่จำเป็นต้องคิดหาวิธีประพฤติปฏิบัติโดยไม่จำเป็น รูปแบบความประพฤติที่สังคมเคยกระทำอย่างไร หน้าที่ของสมาชิกในสังคมก็คือ การปฏิบัติตาม
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในสังคมมนุษย์ อีกนัยหนึ่งคือ มนุษย์จะอยู่โดยปราศจากวัฒนธรรมไม่ได้หรือ วัฒนธรรมกับมนุษย์จะต้องอยู่ควบคู่กันไป เสมือนเงากับตัวทิ้งกันไม่ได้”  วัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด และไม่ใช่สิ่งที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นนิสัยและความสามารถต่าง ๆ ของมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเรียนรู้ หรือขบวนการสังคม วัฒนธรรมของแต่ละสังคม มีความแตกต่างกันและคามแตกต่างนี้ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบพิจารณาว่าวัฒนธรรมใดดีกว่ากัน เพราะวัฒนธรรมแต่ละวัฒนธรรมย่อมมีความเหมาะสมถูกต้องตามสภาพแวดล้อมของแต่ละสังคม แนวความคิดที่ว่า วัฒนธรรมทุกวัฒนธรรมมีส่วนดีเป็นของตนเอง ซึ่งเรียกว่า วัฒนธรรมสัมพันธ์แนวความคิดนี้มุ่งที่จะลบล้างความคิดเห็นที่ว่า วัฒนธรรมของตนดีกว่าวัฒนธรรมของคนอื่น (Ethnocentrism) วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยทั่วไปการเปลี่ยนแปลงมักจะเป็นไปได้ 2 วิธีคือ 1 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในวัฒนธรรมเอง เช่น การประดิษฐ์คิดค้น และ 2 การเปลี่ยนแปลงที่มาจากภายนอก เช่น การติดต่อกับวัฒนธรรมอื่น เป็นการเลียนแบบวัฒนธรรมอื่น ๆ มาใช้ วัฒนธรรมเป็นผลรวมของแบบแผนและแนวการดำเนินชีวิตของปลาย ๆ อย่างในสังคมเข้าด้วยกัน ถ้าสมาชิกในสังคมส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบอย่างเดียวกันเรียกวัฒนธรรมนั้นว่า วัฒนธรรมใหญ่หรือ วัฒนธรรมรวมและภายหลังวัฒนธรรมใหญ่ยังแบ่งเป็น วัฒนธรรมย่อยหรือ วัฒนธรรมรองด้วย
การเปลี่ยนแปลงขอวัฒนธรรม ขึ้นกับสังคมนั้นหรือกลุ่มคนที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ในสถานที่และเวลาที่กำหนดรู้ได้ วัฒนธรรมคือ แบบอย่างการดำเนินชีวิตของคนที่อยู่กันเป็นสังคมนั้น ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ วิธีการ และความคิด ความเชื่อ ที่สร้างและใช้ร่วมกัน ลักษณะของสังคมและวัฒนธรรมจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวกับคนและอุปกรณ์ วิธีการที่ใช้ดำรงชีวิตในหมู่คณะนั้น สังคมและวัฒนธรรมไทยมีขอบเขตและลักษณะที่เปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเทศะมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะกำหนดขอบเขตและลักษณะของสังคมและวัฒนธรรมอยู่หลายอย่าง การบรรยายเรื่องราวของสังคมและวัฒนธรรมไทยให้ครบถ้วน สมบูรณ์ทุกส่วนและทุกยุคสมัยจึงไม่ใช่เรื่องที่ง่าย สังคมและวัฒนธรรมไทยมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปได้ในยุคสมัยที่ต่างกัน เพราะปัจจัยสำคัญได้แก่ จำนวน ประเภท และความสัมพันธ์ของบุคคล สภาพแวดล้อมของสังคม ความรู้ความสามารถของคนไทย และความต้องการพอใจของคนไทยในการมีชีวิตร่วมกัน


ที่มาของวัฒนธรรม
เป็นที่ทราบกันแล้วว่า วัฒนธรรมมีในสังคมมนุษย์เท่านั้น สัตว์ไม่มีวัฒนธรรมเหมือนมนุษย์ หรือสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาไม่ได้ แต่มีมนุษย์มีวัฒนธรรม หรือสร้างวัฒนธรรมได้นั้น สาเหตุมาจากเปรียบเทียบกับสัตว์ ในการมองสิ่งต่าง ๆ มีความสามารถใช้มือและนิ้วอย่างอิสระ มีอายุยืนยาว มีมันสมองที่สามารถคิดค้นเรียนรู้ได้ดี และสามารถ่ายทอดโดยใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน มีความสามารถในการคิดพิจารณาไตร่ตรอง มีความจำ มีการทดลองค้นคว้า ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมหรือการอยู่ร่วมกันได้ดี สิ่งเหล่านี้เองจึงทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์
แนวคิดเรื่องที่มาของวัฒนธรรมนี้ ได้มีผู้รู้ให้แนวคิดแตกแยกออกไปหลายทางด้วยกัน แต่มีแนวความคิดที่สำคัญอยู่ 2 ทางด้วยกัน คือ
1.  ทฤษฎี Parallelism ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า วัฒนธรรมนั้นเกิดขึ้นในที่ต่าง ๆ พร้อมกัน เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์คล้ายันมาก ฉะนั้นจึงมีความคิดที่คล้ายกัน มนุษย์ที่อยู่ในสถานที่ต่างๆ ย่อมสามารถก่อสร้างวัฒนธรรมของตนขึ้นมาได้ จะเห็นได้จากการประดิษฐ์สิ่งของอย่างเดียวกันในสถานที่ต่างกัน จะแตกต่างกันเฉพาะในรูปลักษณะของการประดิษฐ์สิ่งนั้น ๆ เช่น ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำก็มักจะสร้างเรือเป็นพาหนะในชีวิตประจำวันของตน รูปร่างของเรืออาจจะแตกต่างกัน แต่ประโยชน์ใช้สอยเหมือนกัน 
2.  ทฤษฎี Diffusionism ทฤษฎีนี้มีแนวความคิดว่าวัฒนธรรมเกิดจากศูนย์กลางที่ใดหนึ่งเพียงแห่งเดียว และแพร่กระจายไปในชุมชนต่าง ๆ อาจเป็นกระบวนการค่อยเป็นค่อยไปหรือแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง โดยจากการประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ หรือเกิดสถาบันใหม่ โดยที่สถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงหรืออยู่ห่างไกลได้นำวัฒนธรรมนั้นไปดัดแปลงใช้จนกระทั่ววัฒนธรรมนั้นแพร่หลายครอบคลุมไปทั่วโลก กลไกลของการแพร่กระจายวัฒนธรรมนี้ได้แก่ การอพยพล่าอาณานิคม การทำสงคราม การเผแพร่ศาสนา การติดต่อการค้าขาย เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้วเนื้อหาวัฒนธรรมมีแนวโน้มที่จะแพร่หลาย แต่ก็มิได้ราบรื่นโดยตลอด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น เส้นทางคมนาคมไม่สะดวก ชุมชนอยู่ห่างไกลเกินไป ประชาชนเกิดการต่อต้านวัฒนธรรมใหม่ เพราะยังมิเห็นถึงประโยชน์ หรือ อาจจะต่อต้านเพราะเห็นว่าวัฒนธรรมที่มีอยู่มีคุณค่ามีประโยชน์แล้ว หรือรู้สึกว่าขัดกับลักษณะของวัฒนธรรมที่หลั่งไหลเข้ามา เช่น ในกรณีสังคมไทยซึ่งได้รับอิทธิพลจากสังคมตะวันตกในเรื่องการดื่มน้ำชา กาแฟ แต่ยังไม่แพร่หลายในหมู่คนสูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบชนบทยังนิยมกินหมากหรืออมเมี่ยงอยู่ เพราะแต่ละชุมชนเคยชินกับวัฒนธรรมของตนและเห็นว่ามีคุณค่าเหมือนกัน และใช้แทนกันได้อยู่แล้ว

ความสำคัญของวัฒนธรรม
     1) วัฒนธรรมเป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคมมนุษย์ วัฒนธรรมไทยเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมไทย ให้มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนรวมถึงผลของการแสดงพฤติกรรมตลอดจนถึงการสร้างแบบแผนของความคิด ความเชื่อ และค่านิยมของสมาชิกให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน
     2) วัฒนธรรมทำให้เกิดความสามัคคีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สังคมที่มีวัฒนธรรมเดียวกันย่อมจะมีความรู้สึกผูกพันเดียวกัน เกิดความเป็นปึกแผ่น จงรักภักดีและอุทิศตนให้กับสังคมทำให้สังคมอยู่รอด
     3) วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน เช่น รูปแบบของครอบครัวจะเห็นได้ว่าลักษณะของครอบครัวแต่ละสังคมต่างกันไป ทั้งนี้เนื่องจากวัฒนธรรมในสังคมเป็นตัวกำหนดรูปแบบ เช่น วัฒนธรรมไทยกำหนดเป็นแบบสามีภรรยาเดียว ในอีกสังคมหนึ่งกำหนดว่าชายอาจมีภรรยาได้หลายคน หรือหญิงอาจมีสามีได้หลายคน ความสัมพันธ์ทางเพศก่อนแต่งงานเป็นสิ่งที่ดีหรือเป็นเรื่องขัดต่อศีลธรรม
     4) วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหา และสนองความต้องการของมนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตภายใต้สิ่งแวดล้อมได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นมนุษย์ต้องแสวงหาความรู้จากประสบการณ์ที่ตนได้รับการประดิษฐ์คิดค้นวิธีการใช้ทรัพยากรนั้นให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและถ่ายทอดจากสมาชิกรุ่นหนึ่งไปสู่สมาชิกรุ่นต่อไปได้โดยวัฒนธรรมของสังคม
     5) วัฒนธรรมช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า หากสังคมใดมีวัฒนธรรมที่ดีงามเหมาะสม เช่น ความมีระเบียบวินัย ขยัน ประหยัด อดทน การเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว เป็นต้น สังคมนั้นย่อมจะเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

     6) วัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ คำว่า เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะพิเศษหรือลักษณะเด่นของบุคคลหรือสังคม ที่แสดงว่าสังคมหนึ่งแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง เช่น วัฒนธรรมการพบปะกันในสังคมไทย จะมีการยกมือไหว้กันแต่ในสังคมญี่ปุ่นใช้การคำนับกัน เป็นต้น
ความหมายของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมมาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Culture”คำนี้มีรากศัพท์มาจาก ภาษาละตินว่า “Cultura” มีความหมายว่า การเพาะปลูกหรือการปลูกฝัง มนุษย์เป็นผู้ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยให้เกิดความเจริญงอกงาม 
ในด้านภาษาศาสตร์ วัฒนธรรมเป็นคำที่ได้มาจากการรวมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน ได้แก่
-        วัฒนะ หรือ วัฒน หมายถึง ความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง
-        ธรรมะ หรือ ธรรม หมายถึง กฎ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติ
ฉะนั้น เมื่อพูดถึงวัฒนธรรมตามความหมายนี้จึงหมายถึง ความเป็นระเบียบ การมีวินัย เช่น เมื่อกล่าวถึงบุคคลหนึ่งว่า เป็นคนมีวัฒนธรรม ก็มักจะหมายความว่า เป็นที่มีระเบียบวินัย เป็นต้น
ในด้านสังคมศาสตร์ วัฒนธรรมมีความหมายกว้างขวางมาก กล่าวคือ วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิต (WAY OF LIFE) ของมนุษย์ในสังคม และแบบแผนในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุก ๆ อย่างรวมทั้งบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และความรู้ต่าง ๆ เป็นต้น
นิติศาสตร์ หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
จากความหมายของวัฒนธรรมทั้งในด้านทั่ว ๆ ไป ด้านภาษาศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ ด้านนิติศาสตร์ และนักวิชาการบางท่านได้กล่าวไว้ อาจหลอมรวมเข้าด้วยกันและสรุปได้คือ วัฒนธรรมมีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่าง ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตมนุษย์ในสังคมของกลุ่มดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ได้สร้างสงระเบียบ กฎเกณฑ์วิธีในการปฏิบัติ รวมทั้งการจัดระเบียบ ตลอดจนระบบความ ความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยได้วิวัฒนาการสืบทอดกันมาอย่างมีแบบแผน

ประเภทของวัฒนธรรม
โดยทั่วไปแล้วมักจะแบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.  วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ (Material Culture) ซึ่งได้แก่สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มนุษย์คิดค้นผลิตขึ้นมา เช่น สิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นต้น 
2.  วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (Non – material Culture) หมายถึง อุดมการณ์ ค่านิยม แนวคิด ภาษา ความเชื่อทางศาสนา ขนมธรรมเนียมประเพณี ลัทธิการเมือง กฎหมาย วิธีการกระทำ และแบบแผนในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม (Abstract) ที่มองเห็นไม่ได้

องค์ประกอบของวัฒนธรรม
องค์ประกอบของวัฒนธรรมโดยทั่วไป มี 4 ประการ คือ
1.  องค์มติ (Concept) หมายถึง ความเชื่อ ความคิด ความเข้าใจ และอุดมการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนทัศนคติ การยอมรับว่าสิ่งใดถูกหรือผิด สมควรหรือไม่ ซึ่งแล้วแต่ว่ากลุ่มใดจะใช้อะไรเป็นมาตรฐาน (Normal) ในการาตัดสินใจหรือเป็นเครื่องวัด เช่น ความเชื่อในเรื่องการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
2.  องค์พิธีการ (Usage) หมายถึง ขนมธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และแสดงออกมาในรูปพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีศพ มักจะได้รับอิทธิพลจากศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ตลอดจนพิธีการแต่งกาย และการับประทานอาหาร เช่น การแต่งกายเครื่องแบบของทางราชการ หรือการแต่งกายเครื่องแบบเต็มยศในงานรัฐพิธีต่าง ๆ เป็นต้น
3.  องค์การ (Association or Organization) หมายถึง กลุ่มที่มีการจัดระเบียบหรือมีโครงสร้างอย่างเป็นทางการมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ วีวัตถุประสงค์ และวิธีดำเนินงานไว้เป็นที่แน่นอน เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญที่สุดในสังคม ซับซ้อน (Complex Society) เช่น องค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์การที่ใหญ่ที่สุด สมาคมอาเซียน สหพันธ์กรรมกร หน่วยราชการ โรงเรียน วัด จนถึงครอบครัว ซึ่งเป็นองค์การที่มีขนาดเล็กที่สุดและใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด
4.  องค์วัตถุ (Instrumental and Symbolic Objects) เป็นวัฒนธรรมทางด้านวัตถุ มีรูปร่างที่สามารถสัมผัสจับต้องได้ เช่น บ้าน โรงเรียน ถนน เครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ อาวุธ ตลอดจนผลผลิตทางด้านศิลปกรรมของมนุษย์


ที่มา 
บ้านจอมยุทธ https://www.baanjomyut.com/index.html
ACD http://inservice.ascd.org/keys-to-creating-the-ultimate-school-culture/?utm_source=facebook&utm_campaign=Social-Organic&utm_medium=social
ความสำคัญของวัฒนธรรม : https://9a20237.wordpress.com/category/วัฒธรรมไทย/ความสำคัญของวัฒนธรรมไท/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น