วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ขอบเขตการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
            ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา  เป็นระบบที่สถานศึกษาร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การกำกับ ดูแลและสนับสนุนส่งเสริมของหน่วยงานต้นสังกัด   เพื่อสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชา ข้อมูลหลักฐาน ที่ตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคนจะได้รับบริการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดในมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔  และมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่สอง (พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๓)
        ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (Internal Quality Assurance System)
                 สถานศึกษาจะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่สอง (พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๓) ที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔   ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  โดยให้สถานศึกษายึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยการส่งเสริม สนับสนุนและกำกับ ดูแลของหน่วยงานต้นสังกัด ดังแสดงในภาพและรายละเอียด ประกอบด้วย










1) การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้วยการทำจัดโครงสร้างการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการดำเนินงาน ทุกคนมีส่วนร่วมและมีการประชาสัมพันธ์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางให้ความเห็นและข้อเสนอแนะและแต่งตั้งคณะบุคคลทำการตรวจสอบ ทบทวนและรายงานคุณภาพการศึกษา และจัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจและแผนพัฒนา
2)  การพัฒนามาตรฐานการศึกษา   โดยมุ่งเน้นมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานช่วงชั้นที่หลักสูตรกำหนด
3)  การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยการจัดทำแผนอย่างเป็นระบบพื้นฐานของข้อมูลสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน สมบูรณ์ คลอบคลุมการพัฒนาทุกกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบหลักของการจัดการศึกษาและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมที่กำหนดอย่างสอดรับกับวิสัยทัศน์และมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4)   การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการกำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องให้บรรลุเป้าหมายจากแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่กำหนดไว้โดยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่ชัดเจนครอบคลุมงาน/โครงการของสถานศึกษา
5) การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา จะประกอบด้วยการตรวจสอบและทบทวนภายในโดยบุคลากรในสถานศึกษาดำเนินการและการตรวจสอบและทบทวนจากหน่วยงานต้นสังกัด
6)  การประเมินคุณภาพการศึกษา โดยมุ่งเน้นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในระดับชั้นที่เป็นตัวประโยค ได้แก่ประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในวิชาแกนร่วมโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐาน จากหน่วยงานส่วนกลางร่วมกับต้นสังกัด (เขตพื้นที่) ดำเนินการ
7)   การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี เป็นการนำข้อมูลผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพ การตรวจสอบและทบทวนภายในและภายนอกไปประมวลรายงานผลการพัฒนาคุณภาพประจำปีการศึกษาซึ่งจะนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพต่อไป
8)    การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกลไกส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการส่งเสริม พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพ

แหล่งที่มา: http://academic.obec.go.th/web/node/64

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ทักษะสมอง

ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ = Executive Functions (EF)         

คือ กระบวนการในสมองส่วนหน้าของมนุษย์ทุกคน ที่ใช้ในการคิด รู้สึก และกำหนดการกระทำ ซึ่งได้รับการฝึกฝนพัฒนาจนเป็นทักษะสมอง ทำให้คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และมีความสุขเป็น” ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญยิ่งยวด ทั้งต่อความสำเร็จในการ เรียน การทำงานอาชีพ การเห็นคุณค่าในตนเอง และการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่นๆต่อไปตลอดชีวิต

EF
มีองค์ประกอบ 9 ด้าน จัดเป็น 3 กลุ่มทักษะ (3 X 3) ได้แก่













กลุ่มทักษะพื้นฐาน
1.  Working memory = ความจำที่นำมาใช้งาน หรือ ความสามารถในการเก็บประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ
2.  Inhibitory Control = ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรองควบคุมแรงอยากหยุดคิดก่อนที่จะทำหรือพูด
3.  Shiftingหรือ Cognitive Flexibility = ความสามารถในการยืดหยุ่นพลิกแพลงปรับตัว เป็นจุดตั้งต้นของการคิดนอกกรอบคิดสร้างสรรค์

กลุ่มทักษะกำกับตนเอง
1.  Focus Attention = ความสามารถในการใส่ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
2.  Emotional Control = ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ไม่ให้รบกวนผู้อื่น ไม่โกรธเกรี้ยวฉุนเฉียว ขี้หงุดหงิดง่าย
3.  Self-Monitoring = คือ การประเมินตนเองรวมถึงสะท้อนผลการทำงาน เพื่อหาจุดบกพร่อง แล้วแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น

กลุ่มทักษะปฏิบัติ
1.  Initiating = ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ กล้าคิดกล้าทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
2.  Planning and Organizing = การวางแผนและดำเนินการตั้งแต่ตั้งเป้าหมาย เห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบ จนถึงการดำเนินการ และประเมินผล
3.  Goal- Directed Persistence = ความพากเพียรให้บรรลุเป้าหมายมุ่งมั่น ฝ่าฟันอุปสรรคและล้มแล้วลุกได้

ทักษะเหล่านี้ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน  เพื่อให้เกิดการ ฝังชิปเป็นโครงสร้างในสมองของเด็ก โดยเฉพาะในวัย 3-6 ปี ซึ่งเมื่อฝังตัวแล้วก็จะคงอยู่เป็นนิสัยหรือคุณสมบัติของบุคคลไปตลอดชีวิต
 


การอ่านเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญของการส่งเสริม EF ในเด็ก
ในกระบวนการที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้ฟังนั้นมีทักษะ EF หลายด้านพัฒนาขึ้นในสมองของเด็กเสมอ  ได้แก่  การจดจ่อตั้งใจฟัง (Attention) เด็กต้องยั้งใจตนจากการไปทำกิจกรรมอย่างอื่น (Inhibitory Control)  เด็กได้คิด รู้สึก หรือจินตนาการไปตามเนื้อหา โดยนำข้อมูลใหม่ไปเชื่อมโยงกับข้อมูลเดิมในสมอง (Working Memory) หากข้อมูลใหม่แตกต่างไปจากข้อมูลเดิม เด็กอาจเกิดการปรับเปลี่ยนความคิด (Cognitive Flexibility)  ยามที่นิ่งฟัง  ภาวะอารมณ์ของเด็กจะสงบ หรือไหลลื่นไปตามท้องเรื่อง (Emotional Control) บางครั้งเนื้อหาอาจพาให้เด็กได้สะท้อนคิดกลับมาถึงตนเอง (Self- Monitoring)

นอกจากกระบวนการอ่านที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF เป็นพื้นฐานแล้ว เนื้อหาของหนังสือเด็กแต่ละเล่ม ยังอาจมีจุดหมายเฉพาะเพื่อส่งเสริมสร้างลักษณะนิสัยด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับพัฒนาทักษะ EF เพิ่มเติมขึ้นไปอีก เช่น หนังสือที่มุ่งส่งเสริมการคิดไตร่ตรอง การกล้าคิดริเริ่ม การวางแผนการงานหรือการมีความมุ่งมั่นพากเพียร เป็นต้น

ผู้ใหญ่จึงควรอ่านหนังสือเล่มนั้นๆ ให้เข้าใจ ก่อนที่จะอ่านให้เด็กฟัง เพื่อเข้าถึงสาระ จุดหมาย หรือกระบวนการที่มีทักษะสมองEF สอดแทรกอยู่จะได้อ่านให้เด็กฟังอย่างมีอรรถรสนำไปสู่การพัฒนา EF ได้อย่างมีชีวิตชีวา และเมื่ออ่านแล้ว ผู้ใหญ่ควรตั้งคำถาม ชวนเด็กคิด วิเคราะห์ หรือจินตนาการไปกับเรื่องราวในหนังสือ อย่างแยบคาย มิใช่เพื่อทบทวนความจำหรือตอบให้ตรงเนื้อเรื่องเท่านั้น หากเพื่อให้เรื่องราวในหนังสือนำไปสู่การคิดค้น สร้างสรรค์ เติมเต็มประสบการณ์ให้หลากหลายยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ หลังอ่านหนังสือ ผู้ใหญ่อาจพัฒนากิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง หรือใช้กิจกรรมที่ผู้เขียนแนะนำไว้ท้ายเล่ม มาให้เด็กได้ลงมือทำในหลากหลายรูปแบบก็จะเป็นการฝึกฝนสร้างเสริมทักษะสมอง EF ด้านต่างๆ ของเด็กให้เกิดการเรียนรู้และแข็งแรงยิ่งขึ้น


อ้างอิง http://rakluke.com/
Executive Functions -EF ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ 
www.rlg-ef.com  หรือ www.facebook.com/พัฒนาทักษะสมอง EF